ปี-39-ฉบับที่-3
ความเกี่ ยวข้องกั นของศิ ลปะประเภทรมยศิ ลป์ 140 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 อ� ำพนพระมนทิรพระราช สุนิวาสน์วโรฬาร์ อัพภันตรไพจิตรและพา หิรภาคก็พึงชม เล่ห์เลื่อนชะลอดุสิตฐา นมหาพิมานรมย์ มารังสฤษฏ์พิศนิยม ผิจะเทียบก็เทียมทัน สามยอดตลอดระยะระยับ วะวะวับสลับพรรณ ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร บราลีพิลาสศุภจรูญ นภศูลประภัสสร หางหงส์ผจงพิจิตรงอน ดุจกวักนภาลัย รอบด้านตระหง่านจตุรมุข พิศสุกอร่ามใส กาญจน์แกมมณีกนกไพ ฑุรย์พร่างพะแพรวพราย บานบัฏพระบัญชรสลัก ฉลุลักษณ์เฉลาลาย เพดานก็ดารกะประกาย ระกะดาษประดิษฐ์ดี เพ่งภาพตลอดตะละผนัง ก็มลังเมลืองศรี มองเห็นสิเด่นประดุจมี ชิวแม่นกมลครอง ภาพเทพประนมพินิศนิ่ง นรสิงหล� ำยอง ครุฑยุดภุชงค์วิยผยอง และเผยอขยับผัน ลวดลายระบายระบุกระหนาบ กระแหนะภาพกระหนกพัน แผ่เกี่ยวผกาบุษปวัล ลิและวางระหว่างเนือง (สามัคคีเภทค� ำฉันท์) ความเกี่ยวข้องกันของประติมากรรมกับสถาปัตยกรรมอีกลักษณะหนึ่ง ประติมากรรมสร้างขึ้นเพื่อ ใช้ตกแต่งสถาปัตยกรรม กล่าวเฉพาะในประเทศไทย สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (หรือก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตามหลักฐานที่มีอยู่) ในระยะต้น ๆ มีการสร้างประติมากรรมที่มีรูปแบบตามคตินิยมประเพณี และตาม จินตนาการจากวรรณคดี ประดับตกแต่งพระบรมมหาราชวังและวัด เช่น รูปยักษ์จากเรื่องรามเกียรติ์ที่ ตั้งประดับเป็นคู่ ๆ ตามประตูทางเข้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ภาพที่ ๙) รูปครุฑจับนาค ที่ประดับรอบฐานพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ภาพที่ ๑๐) รูปสัตว์หิมพานต์ที่อยู่บนไพทีปราสาท พระเทพบิดร (ภาพที่ ๑๑) สมัยต่อมา ได้มีการน� ำประติมากรรมตกแต่งอาคารสถานที่ราชการและตามอนุสาวรีย์ต่าง ๆ เพื่อ ประกอบให้ความหมายของสถานที่เหล่านั้นเด่นชัดขึ้น เช่น รูปปั้นครุฑประดับหน้าอาคารการสื่อสารแห่ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=