ปี-39-ฉบับที่-3

139 วินั ย ภู่ระหงษ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ๑. ประติมากรรมกับสถาปัตยกรรม โบสถ์วิหารทางพระพุทธศาสนา หรือปราสาทพระที่นั่งตามแบบลักษณะสถาปัตยกรรมไทย ส่วนบนประกอบด้วยหลังคาเป็นองค์ประกอบหลัก และมีส่วนประกอบอื่น เช่น ช่อฟ้า บราลี ใบระกา หางหงส์ ซึ่งแต่ละอย่างอาจท� ำเป็นรูปลักษณะต่าง ๆ ทั้งช่อฟ้า บราลี ใบระกา และหางหงส์ โดยลักษณะ เป็นประติมากรรม เพราะมีรูปทรงสมบูรณ์ในตัว อยู่โดยเอกเทศได้ เมื่อประสานเข้ากับสถาปัตยกรรมโดย ประดับตรงต� ำแหน่งต่าง ๆ ของหลังคาอย่างเหมาะเจาะ ภาพของโบสถ์วิหารทางพระพุทธศาสนา หรือ พระที่นั่งตามรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยที่ปรากฏ หลังคาประกอบด้วยช่อฟ้า บราลี ใบระกา และหางหงส์ ประสานกลมกลืนเป็นลักษณะโดยรวมของรูปแบบสถาปัตยกรรม (ภาพที่ ๑) นอกจากการประสานกันแล้ว ประติมากรรมยังเสริมหรือประกอบเข้าให้สถาปัตยกรรมสมบูรณ์ ประดับตกแต่งให้งดงาม ประติมากรรมที่เสริมนั้น มีทั้งที่เป็นรูปทรงสมบูรณ์ ลายปูนปั้น และลายจ� ำหลัก ประติมากรรมเหล่านี้ เช่น ทวยหรือคันทวย (ภาพที่ ๒) โบสถ์ วิหาร พระที่นั่ง ลายปูนปั้น และลายจ� ำหลัก หน้าบัน (ภาพที่ ๓-๔) พระอุโบสถ วิหาร และพระที่นั่ง ลายปูนปั้นซุ้มประตูและซุ้มหน้าต่าง (ภาพที่ ๕-๖) และลายจ� ำหลักบานประตูและบานหน้าต่าง (ภาพที่ ๗-๘) การประสานและการประกอบประติมากรรมเข้ากับสถาปัตยกรรมอย่างกลมกลืนเช่นนี้ ภาพของ พระอุโบสถ วิหาร พระที่นั่ง ฯลฯ ที่ปรากฏแก่ตาของกวี จึงเป็นภาพรวมของสถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์ด้วย รูปทรงและส่วนประกอบ ดังตัวอย่างบทพรรณนาพระมนเทียร พระที่นั่งที่ประทับ ใน อิลราชค� ำฉันท์ ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (ผัน สาลักษณ์) และในสามัคคีเภทค� ำฉันท์ ของนายชิต บุรทัต ตามล� ำดับ ดังนี้ เรืองรองพระมนทิรพิจิตร กลพิศพิมานบน ก่องแก้วและกาญจนระคน รุจิเรขอลงกรณ์ ช่อฟ้าก็เฟื้อยกลจะฟัด ดลฟากทิฆัมพร บราลีพิไลพิศบวร นพศูลสล้างลอย เชิงบัทม์พระบัญชรเขบ็จ มุขเด็จก็พราวพลอย เพดานก็ดารกะพระพรอย พิศเพียงนภาพลาม สิงหาสน์จรูญจตุรมุข บมิแผกพิมานงาม พื้นภาพอ� ำพนพิพิธตาม ตะละเนื่องพนังนอง ภาพครุฑก็ยุดอุรคแผ่ กรเพียงจะผาดผยอง เทพนมขนัดกษณะมอง มรุเทพทิพาลัย (อิลราชค� ำฉันท์)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=