ปี-39-ฉบับที่-3
อิ ทธิ พลส� ำคั ญต่อการสร้างสรรค์ศิ ลปะ 4 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ประเทศไทยเป็นประเทศที่สงวนรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีมาก ดังนั้นการอนุรักษ์ผลงาน ศิลปกรรมจึงเป็นสิ่งส� ำคัญของประเทศ แต่ก็ยังมีกลุ่มก้าวหน้าสร้างสรรค์งานศิลปะในรูปแบบใหม่อยู่อีก หลายกลุ่ม ซึ่งก็ได้อุดมการณ์และรูปแบบการเปลี่ยนแปลงมากจากตะวันตกนั่นเอง จึงท� ำให้ศิลปกรรมทั้ง เก่าและใหม่ด� ำเนินร่วมกันไปอย่างช้า ๆ เพราะต่างคนต่างท� ำ ไม่มีความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและเป็น อุดมการณ์ของแต่ละกลุ่ม จะมีก็เป็นไปตามแนวทางของแต่ละคน ทั้งนี้คงเป็นเพราะอิทธิพลทางการเมือง และการปกครองด้วยเช่นกัน เพราะเดิมมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็น ระบอบประชาธิปไตย ศิลปินมีอิสระในการสร้างสรรค์อย่างกว้างขวาง จึงเห็นได้ว่า การเมืองและการปกครองที่เป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ให้ชาติต่าง ๆ นั้นสามารถมี อิทธิพลต่อผลงานศิลปะอยู่ไม่น้อยเลย อิทธิพลทางความเชื่อและศาสนา ศาสนาเป็นสิ่งแวดล้อมทางวิญญาณของมนุษย์มาตั้งแต่ ดึกด� ำบรรพ์แล้ว บางลัทธิหรือบางศาสนาชักน� ำเหนี่ยวโน้มให้คนเป็นคนอดทนกล้าหาญ บางลัทธิก็ชักน� ำ ให้ศรัทธาเชื่อถือในพระเป็นเจ้าและพวกพ้องอย่างรุนแรงเพราะถือว่าล้วนเป็นญาติกันในทางศาสนาทั้งสิ้น นอกจากนั้นยังได้วางระเบียบแบบแผนเป็นจารีตอย่างเคร่งครัดมากจนถึงขั้นมีโทษผิดเมื่อไม่ประพฤติตาม แต่บางลัทธิก็อบรมสั่งสอนให้บังเกิดอุปนิสัยที่อ่อนโยนมีเมตตาธรรม เนื่องจากพื้นฐานของศาสนาแตกต่าง กันคนละแนวนั่นเอง จึงท� ำให้ผลงานศิลปะของแต่ละแห่งที่นับถือแต่ละศาสนาแตกต่างกันไปด้วย เพราะ ช่างหรือศิลปินก็มีส่วนช่วยอย่างส� ำคัญในการจรรโลงเชิดชูค� ำสั่งสอนอันมีอุดมการณ์และจุดหมายที่แท้จริง ของลัทธิศาสนาเด่นชัดขึ้น โดยสร้างผลงานศิลปะทั้งจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ผลงาน ศิลปะเหล่านี้ล้วนเป็นสื่อส� ำคัญที่จะประสานความเข้าใจและชักน� ำผู้คนให้บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธาอย่าง แน่นแฟ้นขึ้น เช่น พระพุทธรูปในศาสนาพุทธ ก็ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นที่เคารพนอบน้อมระลึก ถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรง แต่ก็เป็นเพียงสิ่งแทนเท่านั้นหาใช่รูปที่เหมือนพระองค์ไม่ เทวรูปใน ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูก็มุ่งหมายให้ผู้คนถวายความเคารพเฉพาะพระผู้เป็นเจ้า และเทวรูปนั้นเป็น สื่อให้บังเกิดจิตร่วมกันร� ำลึกถึง รูปพระคริสต์ในศาสนาคริสต์ก็เน้นในพระเมตตาที่ทรงแผ่บุญไถ่บาป แทนมนุษย์ หรือทรงทนทรมานแทนมนุษย์เสียเอง แต่ศาสนาอิสลามไม่มีรูปพระมุฮัมมัดหรือรูปพระ เป็นเจ้าที่เรียกว่าอัลลอฮ์ เพราะถือว่าพระองค์อยู่สูงกว่าที่จะใช้รูปมนุษย์แทนได้ ดังนั้นศิลปะของศาสนา ต่าง ๆ จึงได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นตามแนวทางเฉพาะของตนเอง ท� ำให้ศิลปะมีความแตกต่างกันไปตาม กระแสอิทธิพลของศาสนาด้วย อิทธิพลทางศาสนาและวัฒนธรรม เมื่อมนุษย์ได้รวมตัวกันเข้าเป็นกลุ่มชนใหญ่ตามเชื้อชาติ และภาษาเดียวกันแล้ว ก็ย่อมจะมีเงื่อนไขและกติกาตามข้อตกลงของการอยู่ร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=