ปี-39-ฉบับที่-3

ความเกี่ ยวข้องกั นของศิ ลปะประเภทรมยศิ ลป์ 138 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 รมยศิลป์เป็นศิลปะลักษณะหนึ่ง หนังสือ การศึกษาวรรณคดีแง่วรรณศิลป์ ของเสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน) นิยามว่า เป็นศิลปะ “เกี่ยวกับเรื่องความงามความไพเราะ” ทั้งนี้ได้อธิบายไว้ใน ตอนต้นว่า “เป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตใจเป็นไปในทางบ� ำรุงจิตใจให้มีความสดชื่นรื่นรมย์ ภาษาอังกฤษเรียก ศิลปะตามลักษณะนี้ว่า Arts of Pleasure” หนังสือ การศึกษาวรรณคดีแง่วรรณศิลป์ อธิบายต่อไปว่า “ในบรรดาสิ่งที่สร้างขึ้นเกี่ยวกับศิลปะ หรือศิลปกรรมเพื่อความบันเทิง (คือรมยศิลป์-ผู้เขียน) มีอยู่ ๕ ประเภท คือ ๑. สถาปัตยกรรม (architecture) เกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารสถานที่ ปราสาท โบสถ์ วิหาร อนุสาวรีย์ และสถานที่อื่น ๆ อันมีลักษณะงามพึงตาพึงใจเป็นสถาปัตยศิลป์ ๒. ประติมากรรม (sculpture) เกี่ยวกับการปั้นแกะสลักและหล่อให้เกิดเป็นพระพุทธรูป เทวรูป รูปคน เป็นต้น ๓. จิตรกรรม (painting) เกี่ยวกับการวาดการเขียนภาพ ระบายสีภาพ ๔. ดุริยางคศิลป์ (music) เกี่ยวกับดุริยางค์ดนตรีและการขับร้อง ๕. วรรณคดี (literature) เกี่ยวกับเรื่องแต่งหนังสือซึ่งมีวรรณศิลป์ ศิลปะ ๕ ประเภทนี้ รวมเรียกหมดด้วยกันว่า Fine Arts ค� ำว่า fine ในที่นี้หมายความถึง คุณสมบัติที่มีลักษณะบริสุทธิ์ สมบูรณ์ เป็นที่เร้าใจคนดู คนฟัง เพราะด้วยความงาม ความไพเราะ ค� ำว่า Fine Arts นี้ แต่เดิมในภาษาไทยใช้ว่า ประณีตศิลป์ แต่ค� ำประณีต หมายถึงดียิ่ง ละเอียด อันเป็นไปทาง ฝีมือและเทคนิค ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องอารมณ์โดยตรง ส่วนนาฏศิลป์ หนังสือ การศึกษาวรรณคดีแง่วรรณศิลป์ กล่าวว่า “อนึ่ง ถ้าพิจารณาศิลปะทั้ง ๕ อย่างนี้ไม่มีศิลปะเกี่ยวกับละครหรือนาฏศิลป์ (dramatic arts) อยู่ด้วย ความจริงนาฏศิลป์ก็เป็นวิจิตร ศิลป์โดยแท้ด้วยสาขาหนึ่ง แต่ที่ไม่แยกไว้เป็นเอกเทศ ก็เพราะนาฏศิลป์เป็นส่วนหนึ่งของวรรณคดี และ ของดุริยางคศิลป์ คือต้องมีเรื่องแต่งขึ้น ถ้าเรื่องนั้นมีดนตรีประกอบ ก็ต้องมีเรื่องแต่งดนตรีด้วย ส่วนการ ออกท่าร่ายร� ำ (acting and dancing) แม้เป็นศิลปะลักษณะหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ นาฏศิลป์เท่านั้น” ศิลปะทั้ง ๕ ประเภทคือ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ดุริยางคศิลป์ และวรรณคดี เกี่ยวข้องกันในลักษณะต่าง ๆ มีทั้งประสานกัน เสริมประกอบกัน ใช้เนื้อหาหรือใช้วิธีของศิลปะประเภท อื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=