ปี-39-ฉบับที่-3

วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ความเกี่ยวข้องกันของศิลปะประเภทรมยศิลป์ วินัย ภู่ระหงษ์ ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน บทคัดย่อ ศิลปะ ๕ ประเภท คือ สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ดุริยางคศิลป์ และ วรรณคดี เกี่ยวข้องกันในลักษณะต่าง ๆ มีทั้งประสานกัน เสริมประกอบกัน ใช้เนื้อหาหรือใช้วิธีของ ศิลปะประเภทอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง กล่าวคือ ประติมากรรมประสานกลมกลืนเข้ากับสถาปัตยกรรม อีกทั้งเสริมประกอบและตกแต่ง ให้สถาปัตยกรรมงดงามสมบูรณ์ นอกจากนี้ประติมากรรมยังใช้วิธีของจิตรกรรมสร้างเป็นภาพขึ้น วรรณคดีใช้เนื้อหาจากสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม เป็นเนื้อหาในบท พรรณนา ในทางกลับกันสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม ใช้เนื้อหาจากวรรณคดีสร้างเป็น รูปศิลปะนั้น ๆ อีกประการหนึ่ง วรรณคดีประสานเนื้อหาของสถาปัตยกรรม ประติมากรรม หรือจิตรกรรม เข้าในเนื้อเรื่อง เพื่อประโยชน์ในการด� ำเนินเรื่อง เพื่อเสริมเรื่องให้สมบูรณ์ และเพื่อแสดงความนึกคิด บางประการ จิตรกรรมกับวรรณคดีต่างมีลักษณะเหมือนกันอยู่คือ จิตรกรรมเล่าเรื่องด้วยภาพ และ วรรณคดีสร้างภาพด้วยการเล่าเรื่อง นอกจากนี้จิตรกรรมและวรรณคดีต่างใช้วิธีของกันและกัน จิตรกรรมสร้างภาพให้มีลักษณะเป็นเรื่องราวให้สอดคล้องกับการคลี่คลายของเวลา ส่วนวรรณคดี บรรยายหลายเหตุการณ์ให้นึกเห็นเป็นภาพเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน วรรณคดีกับดุริยางคศิลป์เหมือนกันหลายประการ ศิลปะทั้งสองเป็นศิลปะที่เกี่ยวกับเสียง เป็นศิลปะที่มีเงื่อนไขอยู่ในกรอบของเวลา และเป็นศิลปะที่มีลักษณะของกันและกันอยู่ ในด้านความ เกี่ยวข้อง คือ การประสานกันของศิลปะทั้งสอง วรรณคดีน� ำดนตรีเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการด� ำเนิน เรื่อง และดนตรีน� ำเนื้อร้องมาเป็นเนื้อหาในการขับร้อง ค� ำส� ำคัญ : ความเกี่ยวข้องกัน, รมยศิลป์, สถาปัตยกรรม, ประติมากรรม, จิตรกรรม, ดุริยางคศิลป์, วรรณคดี

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=