ปี-39-ฉบับที่-3

129 สุรพล วิ รุฬห์รั กษ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ โครงสร้างของบทละคร หรือ การด� ำเนินเหตุการณ์ของเรื่อง (Dramatic Structure of a Play) ๑. ฉากเกริ่นเรื่อง (Introduction) เป็นการแนะน� ำความเป็นมาของเรื่อง หากเป็นเรื่องราวที่ คนดูคุ้นเคย ก็ไม่ต้องใช้เวลาในส่วนนี้นาน นอกจากนี้อาจมีการกล่าวน� ำเป็นปมปัญหาให้ผู้ชมฉงนใจใคร่ ติดตาม (Prologue) ๒. การเกิดเรื่อง (Inciting Moment) เป็นเหตุการณ์ขัดแย้งผลประโยชน์ของ ๒ ฝ่าย ๓. การเดินเรื่อง (Rising Action) เห็นล� ำดับเหตุการณ์ที่ ๒ ฝ่ายต่างหาทางเอาชนะกันโดยที่ ฝ่ายพระเอกเสียเปรียบมากเข้าทุกที เพื่อให้ผู้ชมติดตามเอาใจช่วยพระเอก ๔. การหักมุมเรื่อง (Turning Point) เป็นเหตุการณ์ที่ท� ำให้ฝ่ายพระเอกพบหนทางเอาชนะได้ ๕. การคลี่คลายเรื่อง (Following Action) เป็นล� ำดับเหตุการณ์ที่ฝ่ายพระเอกได้เปรียบมากขึ้น ทีละน้อยด้วยความกล้าหาญและความพยายามอย่างมาก เพื่อให้ผู้ชมติดตามเอาใจช่วยพระเอกอย่าง ใกล้ชิด ๖. การตัดสินเรื่อง (Climactic Scene) เป็นเหตุการณ์ปะทะขั้นสุดท้ายด้วยก� ำลังกาย ก� ำลังใจ ก� ำลังปัญญาของทั้ง ๒ ฝ่าย พระเอกเป็นฝ่ายต่อสู้อย่างสุดฤทธิ์และชนะอย่างเด็ดขาด ๗. การสรุปเรื่อง (Conclusion) เป็นเหตุการณ์แสดงความสุข ความสันติ ความสมหวังของฝ่าย ชนะ แต่อาจมีสัญลักษณ์บางอย่างที่แสดงว่ายังไม่หมดศัตรูเพื่อให้ผู้ชมติดตามตอนต่อไป คุณภาพของบทละคร อมตะ หรือ วาระ (Universalism or Journalism) บทละครอาจแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ ๑. บทละครที่มีเรื่องราวชี้น� ำหรือชี้แนะ หรือให้บทเรียนชีวิตแก่ผู้ชมได้ดีมาทุกยุคทุกสมัย จึงมี ความเป็นอมตะ ๒. บทละครที่มีเรื่องราวประทับใจและเร้าใจผู้ชมในยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง แต่เมื่อพ้นยุคไปแล้วก็ไม่ อาจสร้างความประทับใจให้ผู้ชมต่างยุคต่างสมัยได้อีก เป็นบทละครที่นิยมตามวาระ Air Farce by Canadian Royal (airfarce.com )

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=