ปี-39-ฉบับที่-3
3 วิทย์ พิ ณคั นเงิ น วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ อิทธิพลทางการเมืองและการปกครอง การที่มนุษย์ร่วมกันอยู่เป็นสังคมประเทศชาติ ก็จะต้อง มีระเบียบแบบแผนการปกครองให้ทุกคนได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่สงบสุข ได้รับความยุติธรรมเสมอหน้า กัน และมีเสรีภาพเท่าที่จะสามารถอ� ำนวยให้ได้ในแต่ละสมัย แต่กระนั้นก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ไม่ น้อย เพราะบางชาติมีอ� ำนาจมากด้วยประชาชนมีจ� ำนวนมากกว่าชาติอื่น พลอยให้กลายเป็นมหาอ� ำนาจ ครอบครองดินแดนที่อุดมสมบูรณ์กว้างใหญ่ไพศาล บางชาติระเหเร่ร่อนแต่โหดเหี้ยมและกล้าหาญ มีความ แข็งแกร่งในการต่อสู้กับธรรมชาติ หรือบางครั้งก็ยกกองทัพบุกตะลุยเข้าไปในประเทศใหญ่ ๆ ที่เคยสงบสุข จนสามารถชิงอ� ำนาจการปกครองได้ และก็ยังมีอีกไม่น้อยที่มีความสัมพันธ์กันอย่างดี ท� ำให้สามารถแยก ลักษณะของชาติต่าง ๆ อันจะบ่งชี้ถึงลักษณะของศิลปกรรมได้อีกด้วย การระเหเร่ร่อนของบางชาตินี้เอง ที่มีส่วนท� ำให้ไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้ถาวรได้ เช่น ไม่มีสิ่งก่อสร้างแสดงถึงความรู้ความสามารถ ทางด้านสถาปัตยกรรม ไม่มีผลงานประติมากรรมที่งาม ๆ อันเป็นถาวรวัตถุ นอกจากการประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องใช้ที่สามารถพกพาติดตัวไปมาได้สะดวก ลักษณะสภาพทางการเมืองและการปกครอง อาจเป็นสิ่งบังคับให้การสร้างสรรค์และรูปแบบ ของศิลปกรรมเป็นไปตามความต้องการของผู้มีอ� ำนาจได้ไม่น้อย เช่นสมัยที่ผู้น� ำประเทศเป็นผู้ชอบความ ยิ่งใหญ่ ความสง่างามของเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ก็จะบังเกิดอนุสาวรีย์ต่าง ๆ ขึ้นอย่างในอาณาจักรโรมัน แต่ถ้าผู้น� ำประเทศเกิดความลังเลใจในการสร้างสรรค์ของศิลปินบางคนที่พยายามถ่ายทอดชีวิตความเป็น อยู่ของผู้คนในสมัยของตนออกมาในทางไม่ดีนัก ก็อาจสั่งจับหรือขับไล่ศิลปินออกไปจากประเทศได้ เหมือน ฮิตเลอร์แห่งอาณาจักรนาซี เคยขับไล่และมีทีท่าไม่ยอมรับผลงานของศิลปินชาวเยอรมันหลายคน จนต้อง ลี้ภัยออกไปอยู่นอกประเทศท� ำให้ความรู้ความสามารถในทางศิลปะไปเจริญขึ้นที่อื่น แทนที่จะเจริญอยู่ ภายในประเทศ จากสงครามที่เกิดขึ้นภายในประเทศไม่สร่างซา มีการรบราฆ่าฟันกันเอง เปลี่ยนราชวงศ์ปกครอง ประเทศกันบ่อย ๆ เช่นในประเทศจีน พลอยให้ศิลปกรรมคงรูปเดิมอยู่เป็นเวลาช้านานเพราะมีการเผา ท� ำลายสิ่งก่อสร้างกันอยู่เสมอมา เมื่อมีการสร้างขึ้นใหม่ก็ยังคงอยู่ในรูปเดิมเสียส่วนมาก จะเปลี่ยนแปลง บ้างก็ส่วนที่เป็นการตกแต่งความละเอียดระยิบระยับอย่างฟุ่มเฟือยมากขึ้น ซึ่งมีประเทศจีนเป็นตัวอย่าง นอกจากจะเรียกชื่อตามราชวงศ์หรือนามของกษัตริย์ สหรัฐอเมริกาซึ่งผู้คนในประเทศล้วนแต่อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากประเทศอื่นในยุโรปก็ไม่มีแบบ อย่างทางศิลปกรรมที่แน่ชัดเป็นของตนเอง จึงต้องน� ำแบบอย่างของประเทศในยุโรปมาใช้ แต่ก็ได้พยายาม แก้ไขสร้างสรรค์ขึ้นใหม่เป็นอันมาก ถึงอย่างไรก็ไม่พ้นจากแบบอย่างของยุโรปไปได้ เช่นการก่อสร้างอาคาร หลังใหญ่ ๆ ที่ใช้หินอ่อนและเสาตามแบบของโรมันและกรีก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=