ปี-39-ฉบับที่-3
127 สุรพล วิ รุฬห์รั กษ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ๔. ต้องมีการประเมินอย่างมีมาตรฐานด้วยรสนิยมที่ถูกต้อง ๕. ต้องเข้าใจรูปแบบและเทคนิกของผลงานการแสดงนั้น ๆ บัญญัติ ๑๐ ประการของการวิจารณ์ละคร ๑. ต้องใช้จินตนาการในการพิจารณา ๒. ต้องประเมินอคติของตนให้ถ่องแท้ก่อน ๓. ต้องประเมินละครให้ผู้ชมครบทุก ๆ ด้าน ผู้ชม บท การแสดง การก� ำกับ การออกแบบศิลป์ ๔. ต้องประเมินผลงานในฐานะที่เป็นสิ่งสะท้อนชีวิต และด้วยความเข้าใจว่าศิลปินแต่ละคนที่ ร่วมงานได้ท� ำให้งานดีหรือด้อยอย่างไร ๕. ต้องพิพากษาผลงานหลังจากใช้หลักทั้ง ๓ ของเกอเทออย่างรอบคอบแล้ว ๖. ศิลปินทุกแขนงได้สร้างผลงานของตนที่ท� ำให้สื่อความหมายได้ชัดเจนเพียงไร ๗. ศิลปินได้ใช้ปัจจัยต่าง ๆ ในการสร้างสรรค์ละครเรื่องนั้นอย่างไร ๘. ศิลปินได้แสดงความร่วมมือร่วมใจกันในการสร้างสรรค์ละครเรื่องนั้นให้ตรงตามเป้าหมาย เดียวกัน ๙. ศิลปินแต่ละคนต้องแสดงความสามารถในการน� ำเสนอการตีความชีวิตในละครด้วยศิลปะ ของตนได้ดีที่สุดอย่างไร ๑๐. ท้ายที่สุดละครต้องท� ำให้ผู้วิจารณ์ตื่นเต้น เพลิดเพลิน โน้มน้าวใจ และอื่น ๆ อีกมาก แต่ละคร “ต้องไม่ท� ำให้น่าเบื่อ” เป็นอันขาด ประเภทของละคร โศกนาฏกรรม (Tragedy) ๑. ทุกสิ่งเกิดจากพรหมลิขิต ๒. ต้องแสดงผลของบาปที่เกิดจากความหยิ่งยะโส ๓. ต้องแสดงความไม่สมดุลของมนุษย์ ๔. ต้องมีการลงโทษในอกุศลกรรมที่ได้ท� ำลงไป ปัจจัยในการน� ำเสนอโศกนาฏกรรม ๑. ต้องเป็นเรื่องจริงจัง ๒. ตัวละครเอกต้องเป็นวีรบุรุษที่มีภาพลักษณ์ใหญ่กว่าคนธรรมดา ๓. เหตุการณ์ในท้องเรื่องต้องเป็นจริง อะไรควรเกิดก็ต้องเกิด
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=