ปี-39-ฉบับที่-3

125 สุรพล วิ รุฬห์รั กษ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ จ� ำนวน ๖๑ ท่า ซึ่งน� ำมาเป็นต้นแบบในการพิมพ์เผยแพร่เป็นภาพลายเส้นในปัจจุบัน หนังสือเรื่องต� ำรา ฟ้อนร� ำนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ นายกหอพระสมุดส� ำหรับพระนคร ทรงรวบรวมแบบแผนต� ำราร� ำ และจัด พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานแจกเป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย ใน พ.ศ. ๒๔๖๖ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ จึงได้ทรงจัดให้บันทึกท่าร� ำดังกล่าวไว้เป็นภาพถ่ายขาวด� ำ โดยมีพระยานัฏกานุรักษ์ ครูใหญ่โขนละคร กรมมหรสพในเวลานั้น เป็นผู้ก� ำกับท่าร� ำ คุณหญิงอนินทิตา อาขุบุตร เมื่อครั้งเป็นนางสาวเสงี่ยม นาวี เสถียร แสดงท่าร� ำฝ่ายหญิง และ นายวง กาญจนวัจน ศิลปินในกรมมหรสพสมัยนั้น แสดงท่าร� ำฝ่ายชาย นอกจากนี้ยังมีภาพจิตรกรรมเป็นภาพจับเรื่องรามเกียรติ์ ฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ต้นฉบับจาก สมุดไท ฉบับหลวงจ� ำนวน ๕๖ ภาพ ซึ่งซื้อจากหม่อมหลวงแดง สุประดิษฐ์ พ.ศ. ๒๔๗๙ และต� ำราภาพ จับขาวด� ำลายเส้น จ� ำนวน ๓๓ ภาพ ซึ่งขุนช� ำนาญอักษร (อยู่ ทรงพันธุ์) เป็นผู้จ� ำลองแบบฝีมือช่างที่มีชื่อ และคัดไว้ มีนายทอง (เชิด ธรณี) เป็นผู้เขียนอักษรเมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๐ ต� ำราภาพจับ ดังกล่าวเป็นต้นเค้าของการแสดงท่าจับของยักษ์กับลิงในโขนสืบมาถึงปัจจุบัน สิ่งที่ก� ำลังพัฒนาเกี่ยวกับทฤษฎีนาฏศิลป์ไทยอีกทางหนึ่ง คือ การศึกษานาฏยศิลป์ไทยระดับ บัณฑิตศึกษาที่เน้นการค้นคว้าวิจัย ในรูปของวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก และผลงาน ทางวิชาการรูปแบบต่าง ๆ ขณะนี้ (พ.ศ. ๒๕๕๔) มีผลงานดังกล่าวกว่า ๒๐๐ ชิ้น หากได้น� ำมาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ก็จะได้นาฏยทฤษฎีของไทยที่เป็นระบบมากขึ้น เป็นลายลักษณ์อักษรแทนการถ่ายทอด แบบมุขปาฐะดังที่เคยปฏิบัติมา เช่น ไวยากรณ์การฟ้อนร� ำ ภาษาท่าร� ำ การร� ำท� ำบท การสวมบทบาท ตัวละคร การลอยลอยดอก การออกภาษา มุตโต (การตีบท) บัญญัตินิยมและธรรมเนียมการแสดง เกณฑ์สุนทรียภาวะในนาฏกรรมไทย A Primer for Playgoers โดย Edward A. Wright A Primer for Playgoers เป็นต� ำราที่เอดเวิร์ด เอ. ไรต์ (Edward A. Wright) ได้พยายาม ประมวลหลักวิชาการหรือทฤษฎีต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อวิชาการนาฏกรรมในปัจจุบัน ดังบทสรุปต่อไปนี้ หลัก ๓ ประการของโยฮันน์ ว็อล์ฟกัง ฟอน เกอเทอ (Johann Wolfgang von Goethe) ๑. ศิลปินตั้งใจท� ำอะไร ๒. ศิลปินนั้นท� ำได้ดีเพียงไร ๓. ศิลปินสมควรท� ำสิ่งนั้นหรือไม่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=