ปี-39-ฉบับที่-3
123 สุรพล วิ รุฬห์รั กษ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ลักษณะการเคลื่อนไหวดังกล่าวไม่ได้แบ่งแยกกันเด็ดขาด ในบางกรณีมีการผสมผสานกันด้วยการ เคลื่อนไหวหลายลักษณะ การเคลื่อนไหวแต่ละลักษณะมีความหมายทางอารมณ์ที่ต่างกัน เช่นอารมณ์โกรธ ก็เคลื่อนไหวแบบการระเบิด อารมณ์กลัวก็เคลื่อนไหวแบบสั่นพลิ้ว อารมณ์รักก็เคลื่อนไหวแบบสืบเนื่อง Space การใช้ความว่างของเวที การเคลื่อนไหวใด ๆ ต้องใช้ความว่างที่มีปริมาตรตามสมควรทั้งความกว้าง ความยาว ความสูง ซึ่งก� ำหนดได้ด้วย ๑. ต� ำแหน่งของผู้แสดง ๒. ขนาดของการเคลื่อนไหว ๓. ทิศทางของการเคลื่อนที่จากต� ำแหน่งหนึ่งไปยังอีกต� ำแหน่งหนึ่ง ลาบันโนเตชัน หรือโน้ตการเคลื่อนไหว ของรูดอล์ฟ ฟอน ลาบัน (Labannotation Rudolf von Laban) รูดอล์ฟ ฟอน ลาบัน เป็นนายแพทย์ชาวออสเตรีย-ฮังการี (พ.ศ. ๒๔๒๒-๒๕๐๑) เป็นผู้ ประดิษฐ์โน้ตส� ำหรับการเคลื่อนไหวหรือโน้ตส� ำหรับการฟ้อนร� ำขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๗๑ เรียกว่าคีเนโตกราฟี (Kenetographie) เพื่อใช้แทนโน้ตต่าง ๆ ที่มีมาก่อนหน้า แต่ใช้ไม่ค่อยสะดวกเพราะการฟ้อนร� ำพัฒนาไป มากกว่าจะใช้ตัวโน้ตดั้งเดิมอีกต่อไป โน้ตของลาบันเป็นที่นิยมและมีผู้พัฒนาต่อมาคือ แอนน์ฮัตชินสัน เกสต์ (Ann Hutchinson Guest) ได้พัฒนาเป็นลาบันโนเตชัน (Labanotation) ในสหรัฐอเมริกา และ อัลเบรคท์ คนุสต์ (Albrecht Knust) ได้พัฒนาเป็น คีโนกราฟีลาบัน (Kenographie Laban) ทั้ง ๒ ระบบต่างกัน ในรายละเอียดเพียงเล็กน้อย ซึ่งต่อมาจึงเรียกรวมกันว่า ลาบันโนเตชัน เพื่อเป็นเกียรติ์แก่รูดอล์ฟ ฟอน ลาบัน ลาบันโนเตชันใช้บันทึกการเคลื่อนไหวของมนุษย์ได้อย่างละเอียดและเหมาะส� ำหรับบันทึกการฟ้อนร� ำ ทุกรูปแบบของโลก ลาบันโนเตชัน เป็นโน้ตคล้ายโน้ตดนตรีสากลแต่เขียนเส้นก� ำกับเป็นแนวตั้ง ๓ แนว คือ แนวกลาง แนวขวา แนวซ้าย และอ่านจากล่างไปหาบน เริ่มจากจุดที่ผู้อ่านซึ่งเป็นผู้แสดงยืนอยู่
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=