ปี-39-ฉบับที่-3

นาฏยทฤษฎี 122 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 นั้น ๆ มิได้ ผู้แสดงก็ต้องน� ำความรู้สึกที่ตนเองเคยสูญเสียสิ่งที่ตนรักและเคยเสียใจมากมาใช้ศึกษา และสร้างความรู้สึกดังกล่าวให้ได้ สตานิสลาฟสกีถือหลักส� ำคัญที่สุดคือ “ธรรมชาติเป็นครูของการแสดง” จลนศิลป์ (Kinetic Arts) จลนศิลป์ คือ ศิลปะแห่งการเคลื่อนไหว เป็นทฤษฎีที่ใช้ในการฟ้อนร� ำและการกีฬา เป็นทฤษฎี ที่มีประโยชน์มากส� ำหรับการออกแบบสร้างสรรค์การ ฟ้อนร� ำในปัจจุบัน ทั้งไทย สากล และร่วมสมัย จลน- ศิลป์ประกอบด้วยหลักการส� ำคัญคือ การใช้พลังของ การเคลื่อนไหว (Energy) การใช้ความว่างของเวที (Space) Energy การใช้พลังมี ๓ ประเภท คือ ความ แรงของพลัง การเน้นด้วยพลัง ลักษณะของการใช้พลัง ๑. ความแรงของพลัง คือ ปริมาณของพลังที่ผู้แสดงใช้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การใช้พลังมากก็จะเกิดกิริยาท่าทางที่เข้มแข้งรุนแรงรุกร้น ตรงกันข้ามกับการใช้พลังน้อยก็ท� ำให้เกิดการ เคลื่อนไหวที่นุ่มนวลอ่อนโยนเชื่องช้า ๒. การเน้นพลังเป็นการเปลี่ยนปริมาณของพลังในขณะเคลื่อนไหวอย่างกระทันหัน เพื่อเปลี่ยน กระบวนท่าฟ้อนร� ำ เช่น ช้าลง เร็วขึ้น สะดุด กระทบจังหวะด้วยการข่มเข่า ๓. ลักษณะของการใช้พลังในการเคลื่อนไหวมี ๕ รูปแบบหลัก คือ ๓.๑ การแกว่งไกว เป็นการแกว่งล� ำตัวแขนขาอย่างต่อเนื่อง ๓.๒ การระเบิด เป็นการเคลื่อนไหวอย่างกระทันหันคล้ายการตีกลอง ๓.๓ การสืบเนื่อง เป็นการเคลื่อนไหวไปเรื่อย ๆ ไม่มีการกระทบจังหวะ ไม่มีจุดเริ่มหรือ จุดจบ ๓.๔ การสั่นพลิ้ว เป็นการระเบิดอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องคล้ายการรัวกลอง ๓.๕ การลอยตัว เป็นการโดดลอยตัว หรือการยกลอยไปในอากาศ joriteix.com

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=