ปี-39-ฉบับที่-3

121 สุรพล วิ รุฬห์รั กษ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ naturalism, symbolism, costructivism, Russian formalism, Yoga, Pavlovian behavioural psychology, James-Lange psychophysiology ตลอดจนความคิดของนักทฤษฎียุคนั้น เช่น Pushkin, Gogol และ Tolstoy อะริสโตเติลเขียนนาฏยทฤษฎีหลายเล่ม ที่ส� ำคัญ คือ An Actor Prepares, An Actor's Work on a Role, และในประวัติชีวิตของตนคือ My Life in Art ส� ำหรับเนื้อหานาฏยทฤษฎี ของสตานิสลาฟสกี้ มีดังนี้ ๑. The Magic “IF” สมมตภาวะ ผู้แสดงต้องเชื่อและท� ำให้คนดูเชื่อว่าการแสดงละครของตน เป็นจริง ผู้แสดงต้องใช้จินตนาการช่วยในการตัดสินใจว่า ตัวละครที่ตนสวมบทบาทอยู่นั้นจะมีปฏิกิริยา ตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ ในท้องเรื่องอย่างไร ๒. Given Circumstances สถานการณ์จ� ำลอง คือ สถานที่ ยุค เวลาในรอบวัน ที่สมมุติขึ้น บนเวที เหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้แสดงต้องเข้าใจ เข้าถึงการตีบทให้ดูสมจริง ๓. Imagination จินตนาการที่ผู้แสดงต้องใช้อย่างมากในการสร้างความสมจริงให้แก่ตัวละคร ที่ตนก� ำลังแสดงอยู่ ๔. Concentration of Attention การสร้างสมาธิ ซึ่งไม่ใช่การนั่งสงบจิตใจมิให้ฟุ้งซ่าน แต่เป็นการที่ผู้แสดงแต่ละคนต้องมุ่งจิตจดจ่อไปยังละครที่ตนก� ำลังแสดง ไม่วอกแวก ไม่สะดุดหยุดลงกลาย เป็นตัวเดิมคือตนเอง ซึ่งจะท� ำให้กลับเข้าไปสู่สภาวะการเป็นตัวละครนั้นอีกได้ยาก ๕. Truth and Belief ความจริง และ ความเชื่อ ความจริงขณะแสดงละครไม่ใช่ความจริงใน ธรรมชาติ เป็นความจริงที่จ� ำลองขึ้น (Virtual Reality) ผู้แสดงตัองท� ำให้ดูสมจริงให้จงได้ ๖. Communion การสื่อสารกับผู้อื่น ผู้แสดงต้องมีกลวิธีในการสื่อสารกับผู้ชมให้รับทราบ ความในใจของตนอย่างแนบเนียน เช่น เสียงดังฟังชัด ท่าทางเข้าใจได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ใช่การ บอกกับผู้ชมตรง ๆ เพราะจะท� ำให้มายาการของละครหมดไป ๗. Adaptation การปรับเปลี่ยน ผู้แสดงต้องปรับการแสดงของตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ที่เปลี่ยนไปเสมอ เพื่อให้การแสดงสดใหม่ประทับใจผู้ชมทุกครั้ง ๘. Tempo and Rhythm ความเร็ว และ จังหวะ เป็นเงื่อนไขของเวลาที่คนดูเกิดความรู้สึก ได้ว่าการแสดงที่ตนสัมผัสอยู่นั้น มีความเร็ว มีจังหวะจะโคนสอดคล้องกัน ความเคยชินของตน ไม่ช้าหรือ เร็วเกินไป ไม่ยืดยาดหรือรุกร้นจนรับไม่ได้ ๙. Emotional Memory การร� ำลึกอารมณ์ เป็นกลวิธีในการแสดงละครที่ผู้แสดงอาจไม่มี ประสบการณ์จริงเหมือนที่เกิดขึ้นกับตัวละคร เช่นการเสียใจที่คนรักตาย หากผู้แสดง “สร้าง” อารมณ์

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=