ปี-39-ฉบับที่-3
นาฏยทฤษฎี 118 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ๑. ชิคะโดะ (ทางแห่งบุปผา) พ.ศ. ๑๙๔๕ เน้นพื้นฐานศิลปะในตัวผู้แสดง และการบ่งชั้นของ คุณภาพการแสดง ๒. คักเคียว (คันฉ่องส่องบุปผา) พ.ศ. ๑๙๖๗ พื้นฐานการแสดงโนะ ปรัชญาโนะ จิตวิทยาและ ปฏิกริยาตอบสนองของคนดู ๓. ยุคะคุ ชุโด ฟุเก็ง (หลักการเพื่อความอิ่มเอิบทางศิลปะ) พ.ศ. ๑๙๖๗ การน� ำพระพุทธศาสนา และลัทธิขงจื๋อมาอธิบายศิลปะการแสดงโนะที่ท� ำให้คนดูอิ่มเอิบใจ ๔. ซันโดะ (ปัจจัยทั้งสามในการแต่งบทละคร) พ.ศ. ๑๙๖๖ หลักปฏิบัติในการแต่งบทละครโนะ พร้อมด้วยจารีตต่าง ๆ อย่างถูกวิธี ๕. คิวอิ (เก้าชั้น) พ.ศ. ๑๙๖๗ การแบ่งคุณภาพการแสดงโนะสูงส่งขึ้นไปเป็น ๙ ชั้นตามล� ำดับ ๖. ชูเคียวคุ โตะกะ (เพิ่มบุปผา) พ.ศ. ๑๙๗๑ การถามตอบเรื่องปรัชญาการแสดงโนะ ๖ หัวข้อ ๗. ชูโดโชะ (เรียนกลวิธี) พ.ศ.๑๙๗๓ การประมวลปัจจัยต่าง ๆ มาใช้ในการแสดงโนะ ๘. ซะรุกะกุคังงิ (ความคิดค� ำนึงในเรื่องศิลปะ) เป็นการบันทึกค� ำสอนของเซอะมิโดยโมะโตะโยะชิ ผู้เป็นบุตรในเรื่องต่าง ๆ ของการแสดงโนะ ๙. ฟุจิคะเด็ง (รูปแบบบุปผา) พ.ศ. ๑๙๔๕ ซึ่งมีเนื้อหาส� ำคัญที่สุด มีสาระพอสรุปได้ดังนี้ ๑) อายุกับการปฏิบัติตน ๑.๑) อายุ ๗ ปี ปล่อยให้แสดงโดยอิสระ อย่าบังคับ อย่าเข้มงวด เพราะเด็กจะขาดความ กระตือรือร้น อย่าสอนบทบาทการแสดงเพราะเด็กยังไม่เข้าใจ ๑.๒) อายุ ๑๑-๑๒ ปี หัดปรับเสียงได้เหมาะสม สอนศิลปะโนะอย่างง่าย มีความงามของ เด็กชายทั้งรูปร่างและน�้ ำเสียง อย่าเพิ่งสอนการสวมบทบาทตัวละครเพราะประสบการณ์ยังไม่เพียงพอ ควรฝึกพัฒนาพื้นฐานให้สมบูรณ์ ๑.๓) อายุ ๑๗-๑๘ ปี เป็นวัยที่เปลี่ยนเสียง ร่างกายก็เก้งก้าง ไม่ควรออกแสดง ควรมุ่งฝึก ให้มาก อย่าฝืนธรรมชาติเพราะอาจท� ำให้เสียงเสียตลอดชีวิติ ๑.๔) อายุ ๒๔-๒๕ ปี ควบคุมมาตรฐานการแสดง รูปร่างสมบูรณ์ มุ่งความช� ำนาญ ขั้นสูง อย่าหลงค� ำชื่นชมเพราะความส� ำเร็จจากการแสดงเป็นเพียงการเริ่มต้น มิฉะนั้นจะไม่พัฒนาต่อ ๑.๕) อายุ ๓๔-๓๕ ปี ผู้แสดงมีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายและความสามารถในการแสดง แต่ผู้แสดงบางคนก็ไม่อาจก้าวไปสู่ความเป็นผู้แสดงที่ยิ่งใหญ่ได้ วัยนี้ยังต้องรักษาวินัยอย่างเคร่งครัด น� ำสิ่ง ที่ร�่ ำเรียนกลับมาพัฒนา และวางแผนอนาคตของตน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=