ปี-39-ฉบับที่-3

117 สุรพล วิ รุฬห์รั กษ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ๑๓.๒ ความล้มเหลวของการแสดง เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เกิดจากผิดกาลเทศะ ๑๓.๓ การแข่งขันการแสดง กติกา กรรมการ วิธีการตัดสิน ๑๓.๔ คนดู คุณสมบัติของคนดู ภูมิหลัง รสนิยม วุฒิภาวะ จิตวิทยา ฟุจิคะเด็ง โดยเซอะมิ โมะโตะกิ เซอะมิ โมะโตะกิโยะ (Zeami Motokiyo, พ.ศ. ๑๙๐๖-๑๙๘๖) เป็นบุตรของคังนามิ หัวหน้า คณะละครซะรุกะกุ เกิดเมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๖ เมื่ออายุ ๑๑ ปี ได้แสดงละครถวายโชกุนอะชิคะงะโยะชิมิตสึ โชกุนโปรดปรานในความงามและความสามารถของ เซอะมิ และให้ศึกษาปรัชญาและวรรณคดีราชส� ำนัก ของโชกุน เซอะมิแสดงละครต่อมาจนถึง พ.ศ. ๑๙๑๗ จึงได้รับการอนุเคราะห์จากโชกุนโยะชิมิตสึและเริ่มแสดง ละครเป็นอาชีพ เมื่อบิดาเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. ๑๙๒๘ ท่านก็เป็นหัวหน้าคณะต่อมาและประสบความส� ำเร็จ อย่างมาก เซอะมิมีความสามารถอย่างสูงในการประพันธ์บทละคร โดยใช้การผสมผสานเรื่องราวจาก วรรณคดีดั้งเดิมกับเรื่องราวที่ร่วมสมัย ผนวกด้วยพุทธปรัชญานิกายเซน โดยการพัฒนาละครแบบซะรุกะกุ ของบิดาเกิดเป็นละครแนวใหม่เรียกว่า โนกะกุ หรือ โนะ เซอะมิประพันธ์บทละครโนะไว้ประมาณ ๓๐-๕๐ เรื่อง เซอะมิได้ปรับปรุงการแสดงโนะจากการเป็นรูปแบบของละครพื้นบ้านแสดงให้ประชาชนทั่วไปได้รับ ความบันเทิงจากความสนุกสนานตลกขบขัน มาเป็นละครของชนชั้นสูงที่มีภาษากวีอันไพเราะ มีการฟ้อน ร� ำขับร้องและบรรเลงดนตรีที่ประณีตเปี่ยมด้วยความสุนทรีย์ของนาฏกรรม เซอะมิได้ประพันธ์นาฏยทฤษฎี ไว้ ๒๑ บับรวมเป็น ๙ เล่มหลัก เล่มที่นับว่าส� ำคัญที่สุดชื่อ ฟุจิคะเด็ง ที่เซอะมิประพันธ์ขึ้นจากการวิเคราะห์ และสังเคราะห์การแสดงของตนและจากการแสดงในยุคนั้น นาฏยทฤษฎีสันนิษฐานว่าเซอะมิบันทึกไว้เป็น ศาสตร์ลับของครอบครัว จึงไม่มีใครรู้จักจนกระทั่งมีผู้ไปพบต้นฉบับในร้านหนังสือเก่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ ครั้นโชกุนอะชิคะงะโยะชิมิตสึสิ้นชีพ โชกุนอะชิคะงะโยะชิโมะชิไม่โปรดละครของเซอะมิ ท่านจึงต้องหันไป พึ่งการสนับสนุนจากพ่อค้าเศรษฐี ละครโนะของเซอะมิได้รับความนิยมมากในเวลานั้น แต่เมื่อโชกุนอะชิคะงะ โยะชิโนะริขึ้นครองอ� ำนาจ ก็ไม่โปรดเซอะมิอย่างยิ่งและถอดเซอะมิออกจากต� ำแหน่งหัวหน้าคณะละครชื่อ คังเซ แล้วตั้งหลานชายเซอะมิชื่อโอนะมิเป็นหัวหน้าคณะแทน อีกทั้งเนรเทศเซอะมิไปอยู่ที่เกาะซาโดะ อันห่างไกล เมื่อโชกุนโยะชิโนะริสิ้นชีพ เซอะมิจึงได้กลับมายังเมืองหลวงและสิ้นชีวิตเมื่อ พ.ศ. ๑๙๘๖ ส� ำหรับเนื้อหาของทฤษฎีทั้ง ๙ เล่มโดยย่อมีดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=