ปี-39-ฉบับที่-3

นาฏยทฤษฎี 114 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ๕.๘ วิตะ นางอิจฉา ๕.๙ ชีตะ ตัวรอง ๕.๑๐ ศการะ ตัวเบ็ดเตล็ด ผู้แสดงต้องมีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง แสดงกิริยาต่าง ๆ ได้ มีเสียงดี กล้าในการแสดง มีสติปัญญาตีบทได้ ต้องมีสาตวิกะคือแสดงเป็นตัวละครที่ตนต้อง “สวมวิญญาณ” ตัวละครได้ ๖. บทละคร (รูปะ คือบทละคร รูปกะ คือการแสดงละคร) มี ๑๐ ประเภท ที่ส� ำคัญคือ นาฏกะ และ ประกรณะ ๖.๑ นาฏกะ คือ บทละคร ๕-๑๐ องก์ ที่เป็นเรื่องราวอิงประวัติศาสตร์หรือเทพปกรณัม ที่ทราบกันทั่วไป มีตัวละครเอกเป็นวีรบุรุษผู้กล้าหาญ โอบอ้อมอารีย์และเสียสละ และมีลักษณะอื่น ๆ ครบถ้วน มีวิริยราสะและริราสะเป็นหลัก ๖.๒ ประกรณะ คือ บทละคร ๕-๑๐ องก์ ที่เป็นเรื่องจินตนาการ มีเรื่องราวผูกพันกับ สภาพสังคมทั่วไป มีตัวละครเอกและตัวประกอบเป็นสามัญชน ตัวละครเอกเป็นผู้กล้าหาญและเสียสละ มีรติราสะเป็นหลัก ๖.๓ อังคะ ๖.๔ วยาโยคะ ๖.๕ ภาณะ ๖.๖ สามวาการะ ๖.๗ วิถี ๖.๘ ประหัสนะ ๖.๙ ฑิมะ ๖.๑๐ อีหัมริกะ ๗. การเขียนบทละคร ๗.๑ สันธิ ช่วงของการแสดงละครเรื่องหนึ่ง ซึ่งแบ่งเป็น ๕ ช่วงคือ ๗.๑.๑ มุขะ คือ การเปิดเรื่องแนะน� ำตัวละคร ความเดิมของเรื่อง ความปราถนา ของตัวละคร ๗.๑.๒ ประติมุขะ คือ ด� ำเนินเรื่องให้เห็นพฤติกรรมของตัวละคร และการลงมือกระท� ำ การตามแรงปรารถนา ๗.๑.๓ การภะ คือ แสดงความมุ่งมั่นเป็นขั้นตอนให้ความปรารถนาส� ำเร็จ แสดงความ ขัดแย้งระหว่างนายกะและประตินายกะ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=