ปี-39-ฉบับที่-3

113 สุรพล วิ รุฬห์รั กษ์ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ๒.๓ วิยภิจารีภาวะ คือ สิ่งส่งเสริมภายนอก เช่น ดนตรี เสื้อผ้า บรรยากาศที่น� ำปรุงแต่ง ภาวะ >>>>>>> สาตวิกะ (ศิลปะการเลียนแบบตัวตนและเหตุการณ์) >>>>>>>ราสะ ๓. ราสะ คือ รสหรืออารมณ์ ที่ ผู้แสดงรับส่งกันในการแสดง และที่ผู้แสดงต้องส่งไปให้เกิดขึ้น ในใจของคนดู รติภาวะ ท� ำให้เกิด ศฤงคารราสะ (รสจากความรัก) หาสะภาวะ ท� ำให้เกิด หาสยะราสะ (รสจากความขบขัน) โศกะภาวะ ท� ำให้เกิด กรุณาราสะ (รสจากความกรุณา) โกรธะภาวะ ท� ำให้เกิด เราทระราสะ (รสจากความดุร้าย) อุตสาหะภาวะ ท� ำให้เกิด วีระราสะ (รสจากความกล้าหาญ) ภยะภาวะ ท� ำให้เกิด ภยานกะราสะ (รสจากความกลัว) ชุคุปสะภาวะ ท� ำให้เกิด พีภัตสะราสะ (รสจากความเบื่อ) วิสมายะภาวะ ท� ำให้เกิด อัทภุตะราสะ (รสจากความตื่นเต้น) ศานตะภาวะ ท� ำให้เกิด ศานติราสะ (รสแห่งความโล่งใจ) ๔. ตัวละคร คือ มนุษย์ที่มีชีวิตด� ำเนินเรื่องราวในละคร ได้แก่ นายกะ กับ ประตินายกะ (ฝ่ายตรงข้ามซึ่งไม่จ� ำเป็นต้องเป็นผู้ร้ายเสมอไป) นอกจากนี้ยังแบ่งตัวละครเป็น ๓ ระดับชนชั้น ได้แก่ ๔.๑ อุตมะ คือ ชนชั้นสูง ผู้มีอุดมคติสูง มีรูปร่างงดงาม มีความช� ำนาญในศิลปศาสตร์ มีปัญญามาก มีความกล้าหาญ มีความเสียสละ มีความโอบอ้อมอารีย์ และมีความอดทนสูง ๔.๒ มัธยะ คือ ชนชั้นกลาง มีความรู้ในศิลปศาสตร์ มีความรู้ทางโลก มีการศึกษา วัฒนธรรม และจริยธรรม ๔.๓ อัธมะ คือ ชนชั้นต�่ ำ มีกิริยามารยาทหยาบกระด้าง จิตใจต�่ ำ ตระหนี่ โลภ อารมณ์ร้าย ชอบท� ำลาย ชอบส่อเสียด ๕. ผู้แสดง ๕.๑ สูตรธาระ ชายผู้เป็นหัวหน้าคณะ นายโรง เป็นผู้ท� ำพิธี เป็นผู้แสดงน� ำ ๕.๒ นที นางเอก ๕.๓ กวี ผู้เขียนบท ๕.๔ ปาริปารวศกะ ผู้ก� ำกับเวที ๕.๕ นายกะ พระเอก ๕.๖ นิยกะ นางเอก ๕.๗ วิฑูษกะ ตัวตลก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=