ปี-39-ฉบับที่-3

นาฏยทฤษฎี 110 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ที่ท� ำให้วิถีชีวิตของตัวละครเริ่มเปลี่ยนไป เหตุการณ์ที่ด� ำเนินต่อมาและท� ำให้ความลับคลี่คลาย จุดแตกหัก ระหว่าง ๒ ฝ่ายและความลับถูกเปิดเผย (Climax) การสรุปเรื่องให้จบลงอย่างสมบูรณ์ (Conclusion) ๓.๑.๘ Pity and Fear คือ ความเห็นใจและความหวั่นใจ ซึ่งเหตุการณ์ที่ท� ำให้เกิด ความรู้สึกดังกล่าว มี ๔ ลักษณะคือ ๑) การกระท� ำนั้นตัวละครรู้ตัวและจ� ำเป็นต้องท� ำโดยไม่มีทางเลือก ๒) การกระท� ำนั้นเกิดจากความไม่รู้และมาพบความจริงในภายหลัง ๓) ต้องลงมือกระท� ำแต่ท� ำไม่ได้ เพราะรู้ว่าผู้ที่ตนจะลงมือกระท� ำเป็นใคร ๔) เกือบลงมือกระท� ำเพราะไม่รู้ แต่พบความจริงก่อนลงมือกระท� ำ ๓.๒ Character คือ กวีต้องสร้างตัวละครที่มีรูปร่าง นิสัย ความคิด และพฤติกรรมอย่าง สมเหตุผล เป็นความจริง ไม่มีปาฏิหาริย์ ตัวละครในโศกนาฏกรรมต้องเป็นมนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่ มีอุดมการณ์ มีความมุ่งมั่น มีความกล้าหาญ เสมอต้นเสมอปลาย ๓.๓ Thought คือ กวีต้องแสดงความคิดของเรื่องให้สื่อได้ด้วยค� ำพูดและท่าทางของตัว ละครทั้งทางตรงและทางอ้อม ๓.๔ Diction คือ กวีต้องสร้างค� ำพูดของตัวละครที่แสดงความคิดและอารมณ์ต่อ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ทั้งการพูดตรง ๆ พูดโดยอ้อม พูดแบบเปรียบเปรย ๓.๕ Song คือ การพูดอย่างมีลีลา การขับล� ำน� ำ การขับร้อง และการบรรเลงดนตรี มีบทบาทส� ำคัญในการให้รสชาติแก่การแสดง จึงต้องใช้ฉันทลักษณ์อย่างเหมาะสมกับบุคคล กาลเทศะ ๓.๖ Spectacle คือ ความตระการตา ได้แก่ ฉาก เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์การแสดง ที่ท� ำให้การแสดงมีความงดงามตระการตา แลดูสมจริงมากยิ่งขึ้น ๔. Purgation of Emotion เป็นคุณสมบัติของโศกนาฏกรรม เมื่อจบการแสดงแล้วต้องท� ำให้ คนดูเกิดความรู้ความเข้าใจและความรู้สึกโล่งใจว่าตนได้ผ่านพ้นวิกฤติที่จ� ำลองให้เห็นบนเวทีนั้นมาได้ นาฏยศาสตรา โดย ภรตมุนี นาฏยศาสตรา (Natyashastra) เป็นนาฏยทฤษฎีที่รจนาโดยภรตมุนี (Bharat Muni) สันนิษฐาน ว่ารจนาขึ้นระหว่างพุทธศักราช ๒๐๐-๗๐๐ และน่าจะเป็นผลงานรจนาของมุนีหลายท่าน แล้วถ่ายทอด ด้วยปากเปล่ามานานหลายศตวรรษ ต่อมาจึงได้จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร และมีนักวิชาการบางคนเชื่อ ว่านาฏยศาสตราฉบับเขียนน่าจะเป็นผลงานเขียนของมุนีเพียงท่านเดียว มีความยาวถึง ๖,๐๐๐ โศลก มีส� ำนวนคล้ายคลึงกันทั้งหมด มีการจัดระเบียบของเนื้อหาอย่างมีเอกภาพ แบ่งเป็น ๓๒ อัธยายหรือ บท นาฏยศาสตราเป็นนาฏยทฤษฎีที่รจนาขึ้นจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์การละครสันสกฤตของ อินเดียโบราณ แต่สามารถน� ำมาประยุกต์กับการแสดงละครในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี นักปราชน์อินเดีย ให้ความเห็นทางหนึ่งว่าเป็นการประมวลความรู้จากพระเวททั้ง ๔ คือ ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท และ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=