ปี-39-ฉบับที่-3

นาฏยทฤษฎี 106 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 การแสดงและการก� ำกับการแสดงละคร (Acting and Directing) คือ บทบาทหน้าที่และ วินัยของนักแสดง หลักการและวิธีการแสดง สาตวิกศิลป์หรือศิลปะแห่งการเลียนแบบ (Imitation Arts) การตีบท การสร้างและส่งอารมณ์ให้ตัวละครอื่นและผู้ดู ปฏิสัมพันธ์ของตัวละครบนเวที บทบาทหน้าที่ และวิธีการเป็นผู้ก� ำกับการแสดง การวิเคราะห์บท การปรับปรุงบท การวิเคราะห์ตัวละคร การวิเคราะห์ สถานการณ์ของเรื่อง การก� ำหนดแนวการแสดง การคัดเลือกนักแสดง การสื่อสารกับผู้ร่วมงานด้านต่าง ๆ นาฏยทักษะ (Studio) คือ การฝึกการแสดงตามแต่ละสาขาตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงขั้นสูงเป็น ล� ำดับ มีทั้งหมด ๗-๘ วิชา วิชาทักษะนี้เป็นวิชาปฏิบัติบรรยายที่ต้องมีครูก� ำกับอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ครูเป็นผู้ปฏิบัติโดยอธิบายและสาธิตเป็นต้นแบบให้นิสิตนักศึกษาท� ำตามและครูคอยปรับแก้ให้ถูกต้อง พร้อมอธิบายความผิดถูกให้เข้าใจและท� ำซ�้ ำจนซึมซับเข้าไปในกายตนตั้งแต่ง่ายไปหายาก ส� ำหรับการฝึก ด้านการแสดงละครพูดนั้น เป็นการฝึกหัดแสดงบทที่ง่ายเรื่อยไปจนถึงบทที่ต้องแสดงอารมณ์และกิริยา ท่าทางของตัวละครอันมีชั้นเชิงซับซ้อน นอกจากนี้ในปัจจุบันยังต้องมีความรู้เรื่องการแสดงทางสื่อต่าง ๆ อีกด้วย วิชาเลือกที่ส� ำคัญ นอกจากนี้บางหลักสูตร มีวิชาเลือกที่เกี่ยวข้อง เช่น วิชาสรีรวิทยา (Anatomy) เพราะร่างกายนับเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแสดงและผู้เรียนควรรู้ วิชานาฏยบ� ำบัด (Dance Therapy) ส� ำหรับการใช้นาฏยศิลป์รักษาหรือฟื้นฟูผู้ป่วยท� ำนองเดียวกันกับดนตรีบ� ำบัด และวิชานาฏยอุบัติเหตุ (Dance Injury) เพื่อป้องกันและปฐมพยาบาลหากเกิดอุบัติเหตุจากการฝึกการซ้อมและการแสดง และเพื่อให้ ผู้ศึกษาประกอบกิจการทางนาฏกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้ศึกษาก็ต้องมีความรู้ที่เกี่ยว เนื่องกับงานนาฏกรรม ได้แก่ ประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์ พานิชยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ความรู้ด้านต่าง ๆ ทางนาฏกรรมที่กล่าวน� ำมาในเบื้องต้นโดยสังเขปก็เพื่อให้เห็นภาพรวมของ สรรพวิชาที่ประกอบกันเป็นนาฏยศาสตร์ ส� ำหรับนาฏยทฤษฎีที่เป็นวิชาส� ำคัญวิชาหนึ่ง จะได้พรรณนาโดย ละเอียดให้เห็นจุดเด่นเป็นพิเศษว่า นาฏกรรมก็มีศาสตร์ชั้นสูงที่ลุ่มลึกของตนโดยเฉพาะ ไม่ใช่เป็นเพียงวิชา “เต้นกินร� ำกิน” อย่างที่เข้าใจกันโดยทั่วไป นาฏยทฤษฎี คือ หลักคิดและหลักปฏิบัติของสาขาวิชานาฏกรรม เพื่อเป็นแนวทางสร้างสรรค์ ความงามและความส� ำเร็จของการแสดง นาฏยทฤษฎีเกิดจากการน� ำข้อมูลทางนาฏกรรมคือปฏิบัติการ ทางการแสดงที่สั่งสมมานานหลายพันปีทั้งข้อดีและข้อเสีย มาวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยนักคิดแล้วจารึก ไว้เป็นต� ำราส� ำหรับผู้มุ่งศึกษาด้านนาฏยศาสตร์สืบมา นาฏยทฤษฎีอาจแบ่งสาระออกได้เป็น ๓ ประการ คือ ๑. ปรัชญาของการแสดง ๒. บัญญัตินิยมของการแสดง ๓. วิธีฝึกตนให้บังเกิดสัมฤทธิผลทางการแสดง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=