ปี-39-ฉบับที่-3

นาฏยทฤษฎี 104 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 นาฏกรรม เป็นค� ำที่ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน ก� ำหนดเรียกวิชาสาขาหนึ่งที่ใน ปัจจุบันมีการจัดการศึกษาด้านนาฏกรรมในระดับอุดมศึกษา โดยมีการเรียกเป็นหลายชื่อ เช่น นาฏศิลป์ นาฏยศิลป์ ศิลปะการแสดง ศิลปการแสดง ศิลปการละคร เนื้อหาของหลักสูตรมีรายวิชาตามเกณฑ์ของ ส� ำนักการอุดมศึกษา คือ วิชาการศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต วิชาเลือกเสรี ๖ หน่วยกิต และประมาณ การ วิชาแกนคณะ ๙ หน่วยกิต วิชาเอกบังคับ ๔๘ หน่วยกิต วิชาเอกเลือก ๑๘ หน่วยกิต วิชาบูรณาการ ๖ หน่วยกิต รวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า ๑๒๐ หน่วยกิต ซึ่งหลักสูตรสาขาวิชานาฏกรรมมักจัดให้นิสิตนักศึกษา เรียนประมาณ ๑๓๒-๑๓๖ หน่วยกิต ลดลงจากเดิมซึ่งเคยเรียนถึง ๑๔๘ หน่วยกิตก็มี การผลิตบัณฑิต สาขานี้มีวิชาที่บังคับเรียน ๙ หมวดคือ นาฏยประวัติ (History of Performing Arts) นาฏยวิจัย (Performing Arts Research) นาฏยรังสรรค์ (Performing Arts Design and Construction) นาฏยธุรกรรม (Performing Arts Management) นาฏยประดิษฐ์ (Choreography) นาฏยวรรณกรรม (Performing Arts Literature) นาฏยดุริยางค์ (Music) การแสดงและการก� ำกับการแสดงละคร (Acting and Directing) นาฏยทฤษฎี (Performing Arts Theory) ส� ำหรับวิชาการฝึกทักษะ (Dance Studios) ซึ่งนิยมแบ่งเป็น ๔ ประเภท คือ นาฏกรรมไทย (Thai Classical Dance and Dance Drama) นาฏกรรมพื้นบ้าน (Folk Dance and Drama or Ethnic Dance and Drama) นาฏกรรมสากล (Western Dance, Ballet and Contemporary Dance) นาฏยประดิษฐ์ (Choreography) การแสดงละคร (Acting) การก� ำกับการแสดง (Directing) นิสิตนักศึกษาต้องท� ำปริญญานิพนธ์เป็นการสอบออก (Exit Examination) ๓ หมวด คือ การสอบการแสดงเดี่ยว การสอบการสร้างสรรค์งานนาฏกรรม และรายงานการค้นคว้า วิจัยเกี่ยวกับการสร้างสรรค์นาฏกรรมของแต่ละคน เมื่อพิจารณาจากหลักสูตรดังกล่าวจะพบว่า การศึกษาสาขานาฏกรรมระดับอุดมศึกษา มีสาระครอบคลุมศิลปศาสตร์หลายสาขาทั้งโดยรอบและโดยลึก ดังจะกล่าวพอเป็นสังเขปดังนี้ นาฏยปริทัศน์ คือ การให้ความรู้ในภาพรวมของการศึกษาสาขาวิชานาฏกรรม บทบาท หน้าที่ รูปแบบ เนื้อหา การออกแบบ การประกอบสร้าง ศิลปศาสตร์สาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับวิชาการ ทางนาฏกรรม นาฏประวัติ (History) คือ ความเป็นมาของนาฏกรรมของโลกตะวันออกและตะวันตก ประวัตินาฏกรรมตะวันออกไม่สามารถบูรณาการเป็นเนื้อหาเดียวกันได้ จึงต้องจัดแบ่งไปตามกลุ่มประเทศ ซึ่งอิงกับชนเผ่าของโลกตะวันออก ได้แก่ กลุ่มตะวันออกกลาง กลุ่มเอเชียใต้ กลุ่มเอเชียตะวันออก กลุ่มเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ส� ำหรับโลกตะวันตกเน้นยุโรปและอเมริกา เริ่มตั้งแต่อียิปต์จนถึงปัจจุบัน โดยจัดเนื้อหา ตามการจัดสมัยของศิลปะตะวันตก เช่น สมัยกรีกและโรมัน (Classic) สมัยกลาง (Medieval) สมัยฟื้นฟู

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=