ปี-39-ฉบับที่-3
วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ นาฏยทฤษฎี * สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ราชบัณฑิต ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน * บรรยายในการประชุมส� ำนักศิลปกรรม เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ บทคัดย่อ นาฏยทฤษฎี หมายถึง หลักคิดและหลักปฏิบัติของสาขาวิชานาฏกรรม เพื่อเป็นแนวทาง สร้างสรรค์ความงามและความส� ำเร็จของการแสดง โดยข้อมูลคือการปฏิบัติของนาฏกรรมที่สั่งสม มานานทั้งข้อดีและข้อเสีย มาวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยนักคิดแล้วจารึกไว้เป็นต� ำราส� ำหรับผู้มุ่ง ศึกษาด้านนาฏยศาสตร์สืบมา นาฏยทฤษฎีที่นิยมน� ำมาศึกษา ๔ ทฤษฎี คือ ๑. โพเอติกา ของอะริสโตเติล กรีก ๒. นาฏยศาสตรา ของภรตมุนี อินเดีย ๓. ฟุจิคะเด็ง ของโมะโตะกิโย เซอะมิ ญี่ปุ่น ๔. สตานิสลาฟสกีซิสเตม ของคอนสแตนติน เซร์เกเยวิช สตานิสลาฟสกี รัสเซีย นอกจากนี้ยังมี อีกหลายทฤษฎีที่ผู้ศึกษาด้านนาฏยศิลป์ต้องเรียนรู้เพื่อน� ำมาใช้ในการสร้างสรรค์การแสดงให้ส� ำเร็จ ได้แก่ ทฤษฎีดุริยางคศิลป์ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ทฤษฎีจลนศิลป์ ทฤษฎีนิเทศศิลป์ และเพื่อให้ผู้ศึกษา ประกอบกิจการทางนาฏกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้ศึกษาก็ต้องมีความรู้ที่ เกี่ยวเนื่องกับงานนาฏกรรม ได้แก่ ประวัติศาสตร์ นิติศาสตร์ พานิชยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ การสร้างหลักสูตรสาขาวิชานาฏยศาสตร์แบ่งกลุ่มวิชาออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ กลุ่มวิชาบรรยาย กลุ่มวิชาปฏิบัติบรรยายและปฏิบัติบรรยายสร้างสรรค์ กลุ่มวิชาบรรยายมี เนื้อหาหลัก ๑๐ วิชาคือ นาฏยประวัติ (History) นาฏยวิจัย (Research) นาฏยรังสรรค์ (Design) นาฏยธุรกรรม (Management) นาฏยประดิษฐ์ (Choreography) นาฏยวรรณกรรม (Litera - ture) นาฏยดุริยางค์ (Music) การแสดงและการก� ำกับการแสดงละคร (Acting and Directing) นาฏยทฤษฎี (Theory) กลุ่มวิชาปฏิบัติบรรยาย มีเนื้อหาหลัก ๒ กลุ่มวิชาคือ นาฏยกรรมแบบ ประเพณี นาฏกรรมแบบสร้างสรรค์ จากวิชาต่าง ๆ ที่กล่าวมาในเบื้องต้น แสดงให้เห็นว่าการศึกษา ด้านนาฏยศิลป์ต้องมีเนื้อหาของวิชาสาขาต่าง ๆ อย่างมากเพื่อให้ผู้ศึกษาได้น� ำไปประกอบอาชีพ นาฏกรรมสาขาต่าง ๆ ได้ส� ำเร็จผลตามที่ตนถนัดและสนใจ ค� ำส� ำคัญ : นาฏยทฤษฎี, ความส� ำเร็จ, แสดง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=