ปี-39-ฉบับที่-3
นโยบายการตั้ งถิ่ นฐานระยะยาวของประเทศไทยกั บผลกระทบจากภั ยธรรมชาติ เหตุโลกร้อน 98 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 ๒. สงวนพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเกษตร โดยเฉพาะที่นาซึ่งเป็นที่ราบน�้ ำท่วมถึงและให้เป็นพื้นที่ รับน�้ ำและเป็นทางน�้ ำผ่าน (Flood plains and floodways) ตลอดจนพื้นที่สงวนประเภทอื่น ๆ ๓. ห้ามพัฒนาเมืองและชุมชนในพื้นที่ที่มีคุณค่าทางศิลปะและวัฒนธรรมรวมทั้งพื้นที่ธรรมชาติ ที่มีความสวยงามและเหมาะกับการท่องเที่ยว ยกเว้นการพัฒนาที่เป็นสิ่งอ� ำนวยความสะดวก ๔. ก� ำหนดนโยบายการกระจายตัวของประชากรเพื่อลดความแตกต่างระหว่างเมืองและชนบท (Urban-rural disparity) ชะลอการเติบโตของกรุงเทพมหานคร สนับสนุนให้มีเมืองขนาดใหญ่ในพื้นที่ที่ เหมาะสมมากขึ้นเพื่อการกระจายประชากรและความเจริญที่สมดุล ๕. ก� ำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชนเมืองใหม่และฟื้นฟูเมืองเดิมเพื่อเตรียมรองรับประชากร เมืองที่มีแนวโน้มเพิ่มเป็น ๖๐ ล้านคน จากจ� ำนวน ๒๒ ล้านคนในปัจจุบัน โดยคาดว่าประเทศไทยจะมี ประชากร ๗๕ ล้านคนใน ๕๐ ปีข้างหน้า และมีแนวโน้มประชากรเมืองอย่างต�่ ำร้อยละ ๖๕ ๕.๑ เมืองที่จะเกิดใหม่เพื่อรองรับประชากรเมือง ๓๘ ล้านคนจะต้องเป็นเมืองที่กระชับ มีความหนาแน่นสูง เพื่อลดเดินทางและประหยัดพลังงาน และต้องให้เป็นเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ร่มรื่น มีระบบการเชื่อมโยงกับสิ่งอ� ำนวยความสะดวกที่มีประสิทธิภาพ ๕.๒ ให้หยุดขยายเมืองเดิมที่รองรับประชากร ๒๒ ล้านคนอยู่นั้นในทางราบ แต่ให้เพิ่ม ความหนาแน่นในส่วนกลางของเมืองที่เหมาะสม (ไม่ท� ำลายย่านประวัติศาสตร์) โดยใช้มาตรการฟื้นฟูเมือง เพิ่มที่เว้นว่างและจัดวางระบบทางเดินเท้า-จักรยาน (รวมทางเดินเชื่อมระหว่างอาคารพาณิชย์) และระบบ ขนส่งมวลชน ๖. ให้มีการพัฒนาชุมชนเกษตรส� ำหรับประชากร ๑๕ ล้านคนให้มั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความ สามารถในการผลิตที่แข่งขันในระดับนานาชาติได้ด้วยการจัดรูปที่ดินตามความเหมาะสมของสมรรถนะ ที่ดินและโครงสร้างพื้นฐาน ๗. ให้มีคณะกรรมการด้านแผนพัฒนาเชิงพื้นและการผังเมืองแห่งชาติ ที่ท� ำงานเชิงบูรณาการ อย่างใกล้ชิดสอดคล้องกับกับคณะกรรมการด้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ความล้มเหลวในการท� ำแผนระยะยาวให้เป็นจริงของการผังเมืองไทย ผังลิชฟิลด์ เมื่อ ๕๕ ปีก่อน “ผังลิชฟิลด์” หรือ “ผังนครหลวง ๒๕๐๓-๒๕๔๓” ก� ำหนด ให้กรุงเทพฯ และปริมณฑล (รวมบางส่วนของนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และนครปฐม) ให้มี ประชากรรวมรวมแล้วไม่เกิน ๔.๕ ล้านคน โดยในขณะนั้นกรุงเทพฯ มีประชากรเพียง ๑.๒ ล้านคน โดย ให้เหตุผลว่าถ้ามีขนาดใหญ่กว่านี้ ค่าใช้จ่ายในการป้องกันน�้ ำท่วมและค่าโครงสร้างพื้นฐานจะแพงมาก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=