ปี-39-ฉบับที่-3
นโยบายการตั้ งถิ่ นฐานระยะยาวของประเทศไทยกั บผลกระทบจากภั ยธรรมชาติ เหตุโลกร้อน 96 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 และชุมชนในพื้นที่เสี่ยงชายฝั่งทะเลขยายตัว ปล่อยให้มีการปลูกสร้างอาคารและโครงสร้างพื้นฐานใน พื้นที่เสี่ยงนั้นต่อไปเรื่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่มีพื้นที่ปลอดจากภัยธรรมชาติมากมายให้เลือก ต่างจากหมู่เกาะมัลดีฟส์ และเมืองเวนิสที่ไม่มีทางเลือก นักวิทยาศาสตร์คาดว่าหากน�้ ำแข็งทั้งโลกละลาย ระดับน�้ ำทะเลจะสูงขึ้น อีก ๗๐ เมตร แต่จะเมื่อใดยังไม่มีผู้ใดบอกได้ แต่มีการคาดคะเนจากแนวโน้มปัจจุบันว่าเมืองส� ำคัญชายฝั่ง ทั่วโลกจะถูกน�้ ำทะเลท่วมจากการละลายทั้งหมดของน�้ ำแข็ง แต่ก็อีกยาวนานมากคือประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ปี ภาพที่ ๓ ซ้าย สถานการณ์จ� ำลอง ๔ แบบของระดับน�้ ำทะเลใน ค.ศ. ๒๑๐๐ โดย NOAA ที่มา: National Geographic ฉบับเดือนกันยายน ๒๐๑๓ ขวา ภาพจ� ำลองพื้นที่เหนืออ่าวไทยถูกน�้ ำทะเลท่วมที่ระดับ ๔ เมตร ที่มา: geology.com การเพิ่มของระดับน�้ ำทะเลกับภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องน่าวิตกเกินจริงหรือไม่ มีการถกเถียงทางวิทยาศาสตร์ว่าปรากฏการณ์โลกร้อนเกิดตามธรรมชาติดังที่เคยเกิดมาแล้ว ในยุคดึกด� ำบรรพ์หรือเกิดจากฝีมือมนุษย์ และจะเป็นการวิตกเกินเหตุไปหรือไม่ แต่ผลการตรวจปริมาณ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO 2 ) ที่จากแท่งน�้ ำแข็งที่เจาะลึกลงไปที่ขั้วโลกพบว่าในช่วงเวลา ๕๐๐,๐๐๐ ปีที่ผ่านมาปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ในบรรยากาศไม่เคยสูงกว่าค่าที่วัดได้ใน ค.ศ. ๑๙๕๒ มาก่อน แต่มาเพิ่มรวดเร็วหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลกชี้ว่าภายใน ค.ศ. ๒๑๐๐ หรือในอีก ๘๖ ปีข้างหน้า ระดับน�้ ำทะเลจะสูงขึ้นอย่างน้อยสุด ๑๘.๕ เซนติเมตรและมากสุดที่ ๒ เมตร โดยมีค่าเฉลี่ยอย่างสูงที่ ๑.๒๐ เมตรและค่าเฉลี่ยอย่างต�่ ำที่ ๕๒ เซนติเมตรหรือเฉลี่ยรวมที่ประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ค่าเฉลี่ยดังกล่าววัดจากระดับน�้ ำทะเลปานกลาง ๔ ดังนั้น หากรวมกับน�้ ำเหนือหลากขณะ น�้ ำทะเลขึ้นสูงสุดและเกิดคลื่นจากพายุซัดฝั่งอาจมีความเป็นไปได้ที่พื้นที่ราบลุ่มใกล้ชายฝั่งอ่าวไทยในอีก ๔ วารสาร National Geographic ฉบับเดือนกันยายน ๒๐๑๓
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=