ปี-39-ฉบับที่-3
95 เดชา บุญค�้ ำ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ ความเสียหายเหตุจากภาวะโลกร้อนย่อมเกิดขึ้น ดังนั้น การหลีกเลี่ยงจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด แต่น่าเสียดาย ที่ประเทศไทยยังไม่ตระหนักถึงภัยระยะยาวนี้ และยังไม่มีนโยบายและแผนระดับชาติที่สอดคล้องกับ ธรณีสัณฐานของประเทศ เพื่อเตรียมรับมือภัยคุกคามจากภาวะโลกร้อน ดังจะเห็นการวางแผนระยะยาว ที่ยังคงปล่อยให้เมืองชุมนุมอยู่หนาแน่นในพื้นที่เสี่ยงภัย ภัยคุกคามจากน�้ ำท่วมและดินถล่ม สหประชาชาติได้ยกมหาอุทกภัยที่เกิดในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นตัวอย่างมูลค่า ความเสียหายทางเศรษฐกิจว่าสูงเป็นอันดับ ๑ ของโลกประเภทภัยน�้ ำท่วมจากแม่น�้ ำ ในกรณีนี้ แม้จะ มีจ� ำนวนผู้เสียชีวิตน้อย แต่มีผลกระทบความเสียหายต่อเศรษฐกิจของโลกในด้านอุตสาหกรรมสูงมาก เพราะอุตสาหกรรมชาติต่าง ๆ จ� ำนวนมากต้องพึ่งพาการผลิตชิ้นส่วนจากประเทศไทย เช่น อุตสาหกรรม รถยนต์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วนอื่น ๆ ท� ำให้การผลิตทางอุตสาหกรรมของโลกชะงักงันและ ถอยหลังร้อยละ ๒.๕ (J.P. Morgan) เพราะว่าเขตอุตสาหกรรมส่งออกที่ส� ำคัญส่วนใหญ่ของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตน�้ ำท่วมเกือบทั้งหมด ๓ นอกจากนี้อุทกภัยใหญ่ครั้งนั้นยังสร้างความเสียหายในปีเดียวกัน ในอีก ๖๖ จังหวัดทั่วประเทศ แม้การสูญเสียชีวิตจะมีน้อยเพราะการท่วมของน�้ ำจากแม่น�้ ำในที่ราบจะไม่ รุนแรง และมีระบบการบรรเทาสาธารณภัยที่ดี แม้กระนั้นก็ยังมีจ� ำนวนผู้เสียชีวิตรวม ๘๑๕ คน ที่ส่วนใหญ่ อยู่อาศัยในชุมชนเชิงเขาในเขตดินโคลนถล่ม รายงานของสหประชาชาติชี้ว่ามูลค่าความเสียหายทาง เศรษฐกิจจากการเสียหายทางทรัพย์สิน การเสียโอกาส และค่าประกันภัยที่เพิ่มจะกลายเป็นปัจจัยส� ำคัญ ที่ลดขีดความสามารถในการลงทุนของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังเป็นที่สงสัยกันว่าก� ำแพงกั้นน�้ ำคอนกรีตที่นิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ สร้างขึ้นที่ค� ำนวณ ว่าสูงมากพอแล้วจะกั้นน�้ ำท่วมในอนาคตได้หรือไม่ เพราะหากน�้ ำเหนือที่แม้จะมากเท่าปี ๒๕๕๔ ที่ดันไล่ หลังมาก็อาจล้นข้ามก� ำแพงเหล่านี้ได้เพราะถูกกีดขวางจากระบบป้องกันน�้ ำท่วมจ� ำนวนมากที่สร้างขึ้นนั้น เสียเอง นอกจากนี้ช่องทางแคบ ๆ ที่น�้ ำไปได้จะเชี่ยวจนเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้คนมากขึ้น ภัยคุกคามถิ่นฐานมนุษย์บนพื้นที่ชายฝั่งจากระดับน�้ ำทะเลที่สูงขึ้นในอนาคต ในรอบ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมาระดับน�้ ำทะเลสูงขึ้น ๒๐ เซนติเมตร เฉลี่ยปีละ ๒ มิลลิเมตร แต่อัตรา เพิ่มปัจจุบันเริ่มเป็นกราฟเส้นโค้งขึ้นเป็นปีละ ๓ มิลลิเมตร และเห็นแนวโน้มการเพิ่มต่อปีสูงขึ้นเป็นล� ำดับ โดยที่การเพิ่มเป็นไปอย่างช้า ๆ ไม่ฉับพลันอย่างภัยธรรมชาติอื่น ท� ำให้เกือบทุกประเทศละเลยปล่อยให้เมือง ๓ The Economist, Counting the cost of calamities, Jan 14th 2012: http://www.economist.com/node/21542755
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=