ปี-39-ฉบับที่-3

นโยบายการตั้ งถิ่ นฐานระยะยาวของประเทศไทยกั บผลกระทบจากภั ยธรรมชาติ เหตุโลกร้อน 94 The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 การเพิ่มประชากรเมืองกับการตั้งถิ่นฐานของประเทศไทย การส� ำรวจส� ำมโนประชากรครั้งแรกเมื่อ ๑๐๐ ปีก่อน ประเทศไทยมีประชากรเพียง ๘ ล้านคน เป็นประชากรเมืองเพียงร้อยละ ๕-๑๐ อยู่อาศัยในเมืองและชุมชนเมืองขนาดเล็กบนที่ดอนใกล้ที่ท� ำนา และใกล้ทางน�้ ำ ปัจจุบันประชากรทั้งประเทศเพิ่มเป็น ๖๗ ล้านคนหรือ ๘ เท่า แต่ประชากรเมืองเพิ่ม ๔๒-๔๕ เท่า (ประมาณ ๒๒ ล้านคนจาก ๔-๕ แสนคน) ส่วนใหญ่ยังคงอยู่อาศัยในเมืองหรือชุมชนฐาน เกษตรบนที่ราบน�้ ำท่วมถึง กรมโยธาธิการและผังเมืองคาดว่าภายในปี ๒๖๐๐ ประเทศไทยจะต้องมี เนื้อที่ ๑๒ ล้านไร่ (๑๙,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร) รวมเนื้อที่เมืองเดิมเพื่อรองรับประชากรเมือง และจะกิน เนื้อที่ที่ใช้พัฒนาเป็น “เนื้อเมือง” เพียงร้อยละ ๕ ของประเทศ ดังนั้น การก� ำหนดให้มีนโยบายและ แผนระยะยาวด้านการตั้งถิ่นฐานและการผังเมืองจึงมีความส� ำคัญยิ่งต่อความมั่นคงปลอดภัยและความ ผาสุก และสามารถลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินส� ำหรับทุกประเทศที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เสี่ยงภัย หลายประเทศได้ตระหนักและเริ่มเตรียมการรับมือแล้วอย่างจริงจัง ภาพที่ ๒ ซ้าย พื้นที่สะสมที่ถูกน�้ ำท่วมทั่วประเทศเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ ขวา ที่ตั้งเมืองระยะยาวตามผังประเทศไทย พ.ศ. ๒๖๐๐ ที่อยู่ในเขตน�้ ำท่วมภาคกลาง ผลการศึกษาเกี่ยวกับการกระจายตัวประชากรที่สมดุลใน พ.ศ. ๒๖๐๐ ตามทฤษฎีศูนย์กลาง การกระจายตัวประชากร (Central place) เสนอว่านอกจากกรุงเทพมหานครที่ไม่ควรมีประชากรเกิน ๑๒.๕ ล้านคน และประเทศไทยควรมีเมืองขนาดประชากร ๑-๕ ล้านคนอีก ๕ เมือง, ๑-๕ แสนคน อีก ๒๘ เมือง, เมืองขนาด ๐.๕-๑ แสนคน ๑๗๐ เมือง และ ๑-๕ หมื่นคนอีก ๑,๐๒๐ เมือง และที่เหลือ จะเป็นเมืองขนาด ๑ หมื่นคน ๒ และข้อน่าวิตกก็คือ หากเมืองต่าง ๆ ในอนาคตเหล่านี้ไปตั้งในพื้นที่เสี่ยงภัย ๒ ผังประเทศไทย พ.ศ. ๒๖๐๐ กรมโยธาธิการและผังเมือง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=