ปี-39-ฉบับที่-3
93 เดชา บุญค�้ ำ วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๓๙ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๗ บทน� ำ น�้ ำที่หลากท่วมรวมน�้ ำป่า-ดินถล่มและทั่วประเทศเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔ แม้จะยังน้อยกว่าที่เคย เกิดเป็นปรกติมาแต่ดึกด� ำบรรพ์หลายเท่า แต่เหตุที่มูลค่าความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินกลับมากถึง ๑.๔ ล้านล้านบาทนั้น เกิดจากการพัฒนาผิดที่ ในอดีตพื้นที่เชิงเขาและทุ่งรับน�้ ำ (flood plain) ยังเป็น ที่ว่างเปล่าหรือมีการตั้งถิ่นฐานเบาบาง ไม่มีเมือง ไม่มีนิคมอุตสาหกรรม และไม่มีถนนและสิ่งปลูกสร้าง ขวางทางน�้ ำและแย่งที่พักน�้ ำ มูลค่าความเสียหายจึงน้อย พายุไต้ฝุ่นไห่เหยี่ยนเมื่อปีที่แล้วได้คร่าชีวิต ชาวฟิลิปปินส์ไปมากกว่า ๖,๐๐๐ คนนับเป็นตัวอย่างของภาวะความสุดโต่งของภูมิอากาศที่มีต่อการตั้ง ถิ่นฐานในพื้นที่เสี่ยงภัย รายงานของสหประชาชาติ ค.ศ. ๒๐๑๓ ๑ ชี้ว่ามูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจ จากภัยธรรมชาติทุกประเภทของโลกรวมกันมากถึง ๑๙๐ พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ ๖.๖๕ ล้าน ล้านบาท) และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มในปีต่อ ๆ ไป วิบัติภัยอันเป็นปรากฏการณ์ปรกติทางธรรมชาติยังต้อง เกิดต่อไปอีกนับแสนปี... ทางเดียวที่จะหลีกเลี่ยงความสูญเสีย คือการไม่ไปตั้งหรือขยายถิ่นฐานที่อยู่พื้นที่ เสี่ยงภัยเหล่านั้นอีก นอกจากนี้ยังมีภัยระยะยาวที่ยากแก่การแก้ไขมาซ�้ ำเติม ได้แก่ ความเสียหายจากระดับ น�้ ำทะเลที่ก� ำลังเพิ่มขึ้น คาดว่าภายใน ค.ศ. ๒๑๐๐ หรืออีก ๘๖ ปีข้างหน้า ระดับน�้ ำทะเลจะเพิ่มระหว่าง ๐.๖๐-๑.๒๐ เมตร ซึ่งความเสียหายจากภัยธรรมชาติทุกประเภทมีมูลค่าสูงขึ้นเป็นทวีคูณตามจ� ำนวน ประชากรและทรัพย์สินที่ตั้งบนพื้นที่เสี่ยงภัยเหล่านั้น ดังนั้น หากประเทศไทยปล่อยให้เมืองและโครงสร้าง พื้นฐานราคาแพงเพื่อรองรับประชากรเมืองที่เพิ่ม เกิดขึ้นบนพื้นที่เสี่ยงภัยที่เห็นได้ชัดเจนอยู่แล้ว ความทุกข์ ยากย่อมตกอยู่กับคนรุ่นลูกหลาน ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยยังมีพื้นที่ที่ปลอดภัยให้เลือกส� ำหรับการตั้งถิ่นฐาน ได้อย่างเหลือเฟือ ๑ UN GAR Global Assessment Report on Disaster Risk Reduction 2013. ภาพที่ ๑ บทเรียนราคาแพงจากเหตุการณ์น�้ ำท่วม พ.ศ. ๒๕๕๔ เหตุจากการเอานาที่ดีที่สุดมาท� ำนิคมอุตสาหกรรม ทันสมัยที่มีมูลค่าสูง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=