ปี-39-ฉบับที่-3

The Journal of the Royal Institute of Thailand Vol. 39 No. 3 Jul-Sep 2014 นโยบายการตั้งถิ่นฐานระยะยาวของประเทศไทย กับผลกระทบจากภัยธรรมชาติเหตุโลกร้อน เดชา บุญค�้ ำ ภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน บทคัดย่อ ภาวะโลกร้อนมีผลกระทบที่ส� ำคัญต่อเมืองขนาดใหญ่ที่ตั้งในที่ราบลุ่ม ชายฝั่งทะเล รวมทั้ง พื้นที่เสี่ยงภัยจากน�้ ำป่าและดินถล่ม ภัยธรรมชาติมีความรุนแรงขึ้นเป็นล� ำดับ ซึ่งมูลค่าความเสียหาย จะสูงมากน้อยตามระดับของการพัฒนาและความหนาแน่นของประชากรบนพื้นที่นั้น ประเทศไทย จึงควรหยุดการขยายพื้นที่เมืองเดิม และห้ามมิให้มีเมืองใหม่เกิดขึ้นในพื้นที่เสี่ยงภัย มีความเป็น ไปได้ใน ๕๐ ปีข้างหน้า ที่ประเทศไทยอาจมีประชากรเมือง (Urban population) ประมาณ ๔๘ ล้านคน หรือร้อยละ ๖๕ จากประชากร ๗๕ ล้านคน เพิ่มจากปัจจุบัน ๒๖ ล้านคน พื้นที่เมือง ที่เพิ่มใหม่ต้องไม่อยู่บนพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติอีกต่อไป และควรพัฒนาให้เป็นเมืองคาร์บอนต�่ ำ เป็นเมืองนิเวศที่ยั่งยืน ร่มรื่นน่าอยู่ เดินทางไป-กลับน้อยและใช้พลังงานต�่ ำ การมีวิสัยทัศน์และ แผนระยะยาวไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยปราศจากนโยบายระดับชาติที่รองรับด้วยกฎหมาย และจะต้องมี หน่วยงานระดับชาติก� ำกับดูแลการพัฒนาเชิงพื้นที่ให้เป็นไปอย่างยั่งยืน จุดเริ่มต้นที่เป็นกุญแจดอก ส� ำคัญได้แก่การก� ำหนดให้มีนโยบายแห่งชาติที่ก� ำกับโดยกรรมการระดับสูง จะต้องยกระดับหน่วย งานผังเมืองที่อยู่ใต้สังกัดกรมให้เป็นส� ำนักงานคณะกรรมการท� ำหน้าที่เป็นหน่วยงานวางแผนกลาง แห่งให้กระจายสู่ท้องถิ่นอย่างมีบูรณาการ และต้องจัดให้มีกรรมาธิการถาวรเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐาน และการผังเมืองในรัฐสภา เนื่องจากการผังเมืองของประเทศในช่วง ๘๐ ปีที่ผ่านมาติดขัดด้าน กฎหมายที่ไม่เอื้อต่อการวางแผนระยะยาวและไม่เอื้อต่อการแก้ไขปรับปรุงเมืองปัจจุบันให้น่าอยู่ ค� ำส� ำคัญ : ภาวะโลกร้อน, นโยบายการตั้งถิ่นฐานระยะยาวของประเทศไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=