ปี-39-ฉบับที่-3
บทความด้านศิลปะการแสดงมี ๒ บท คือ บทความ “ นาฏยทฤษฎี” ของศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ กล่าวถึงนาฏยทฤษฎีจากกรีก อินเดีย ญี่ปุ่น และรัสเซีย นอกจาก นี้ยังกล่าวถึงการศึกษาทฤษฎีศิลปะแขนงอื่นและความรู้ต่าง ๆ ที่ต้องศึกษาร่วมกับนาฏยศิลป์เพื่อ สร้างสรรค์การแสดงให้ส� ำเร็จ ส่วนบทความเรื่อง “อิทธิพลของพระจันทร์กับนาฏศิลป์ไทย” ของ ดร.ไพโรจน์ ทองค� ำสุก กล่าวถึงแรงบันดาลใจจากพระจันทร์ที่น� ำไปสู่การสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ บทความด้านคติชนวิทยามีบทความเดียว คือ “วัฒนธรรมการสร้างและที่มาของแนวความ คิดของวรรณกรรมทักษิณ” ของศาสตราจารย์ชวน เพชรแก้ว ภาคีสมาชิก ซึ่งให้ความรู้เกี่ยวกับ วรรณกรรมทักษิณในหนังสือบุดและใบลานอย่างรอบด้าน บทความวิชาการส่วนใหญ่ในวารสารฉบับนี้มุ่งเน้นแสดงองค์ความรู้ในศาสตร์ของตน แต่บางบทความ ผู้เขียนได้เชื่อมโยงความรู้จากศาสตร์หนึ่งไปยังศาสตร์สาขาอื่น ๆ ที่สัมพันธ์เกี่ยวข้อง กัน เช่น วรรณคดีกับศิลปะแขนงอื่น ๆ คติความเชื่อกับภาษา วรรณคดี และศิลปะการแสดง ฯลฯ อันเป็นธรรมชาติของวิชาการในสายมนุษยศาสตร์ ดังนั้น ผู้อ่านบทความจึงน่าจะได้รับความรู้รอบ ด้านและกว้างขวาง คณะบรรณาธิการและผู้จัดท� ำวารสารฉบับนี้ขอขอบคุณราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก ส� ำนักศิลปกรรมที่อนุญาตให้น� ำบทความมาลงพิมพ์เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่สาธารณชน คณะ บรรณาธิการเชื่อว่าผู้อ่านจะได้รับสารประโยชน์จากบทความคัดสรรเหล่านี้ และหวังว่าจะกระตุ้น ให้ผู้อ่านเกิดแรงบันดาลใจในการเขียนบทความวิชาการลงพิมพ์ในวารสารของราชบัณฑิตยสถาน ในโอกาสต่อไป ศาสตราจารย์ ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ ประธานคณะบรรณาธิการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=