วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

ไม่ไปจิ้ มก้อง : ไทยยุติ ความสั มพั นธ์กั บจี น สมั ยรั ชกาลที่ ๔ - รั ชกาลที่ ๕ 88 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 จึงเห็นได้ว่า ความสัมพันธ์เป็นไปในลักษณะการยอมรับในอ� ำนาจที่เหนือกว่าตามระเบียบโลก ของจีน ส่วนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจมีน้อยกว่า และไม่เด่นชัดเหมือนสมัยอยุธยา เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง พ.ศ. ๑๘๙๓-๑๙๑๒) สถาปนากรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีแล้วระยะหนึ่ง ทางจีนมีการเปลี่ยนแปลงที่ส� ำคัญคือ ราชวงศ์หยวนหมดอ� ำนาจลง แล้ว ราชวงศ์หมิงของคนจีนขึ้นมาปกครองจีนต่อ ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๑๑-๒๑๘๗ (ค.ศ. ๑๓๖๘-๑๖๔๔) จักรพรรดิ ราชวงศ์หมิงได้รื้อฟื้นการทวงก้องจากอาณาจักรต่าง ๆ และประสบผลส� ำเร็จที่ยิ่งใหญ่ในสมัยจักรพรรดิ หย่งเล่อ เมื่อส่ง “กองเรือมหาสมบัติ” (เป่าฉวน) ขนาดใหญ่ ที่มีเรือขนาดใหญ่หลายสิบล� ำ มีลูกเรือจ� ำนวน มาก เช่น ในการเดินทางครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๑๙๔๘ ค.ศ. ๑๔๐๕ มีเรือขนาดใหญ่ ๖๒ ล� ำ ขนาดย่อม ๒๕๕ ล� ำ ลูกเรือทั้งหมด ๒๗,๘๗๐ คน, ครั้งที่ ๗ (พ.ศ. ๑๙๗๔-๑๙๗๖, ค.ศ. ๑๔๓๑-๑๔๓๓) ซึ่งเป็นครั้งสุดท้าย กอง เรือมีเรือขนาดใหญ่ ๑๐๐ ล� ำ ลูกเรือ ๒๗,๕๐๐ คน ภายใต้การน� ำของนายพลเรือเจิ้งเหอ ที่เป็นขันทีและ นับถือศาสนาอิสลาม ออกส� ำรวจทางทะเลถึง ๗ ครั้ง ระหว่าง พ.ศ. ๑๙๔๘-๑๙๗๖ (ค.ศ. ๑๔๐๕-๑๔๓๓) และมีการเรียกร้อง บีบบังคับให้อาณาจักรต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (รวมอยุธยา) เอเชียใต้ จนถึง ฝั่งตะวันออกของแอฟริกายอมอ่อนน้อมและส่งทูตน� ำเครื่องราชบรรณาการไปถวาย ๙ ราชทูตชุดแรกของไทยสมัยอยุธยาที่ไปจิ้มก้องจีนมีขึ้นใน พ.ศ. ๑๙๑๔ สมัยสมเด็จพระบรม ราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพ่องั่ว พ.ศ. ๑๙๑๓-๑๙๓๑) หลังจากจักรพรรดิหงอู่ ปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์หมิง ส่งทูตมาเรียกร้องเครื่องราชบรรณาการ หลังจากนี้ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการเป็นไปอย่างคึกคัก ในสมัยราชวงศ์หมิงมีทูตจีนมา ๑๗ ครั้ง และทางอยุธยาส่งราชทูตไป ๑๐๒ ครั้ง ๑๐ ซึ่งนับว่ามากทีเดียว และมีบางสมัยทางอยุธยาส่งราชทูตไปบ่อยทุกปี หรือปีละ ๒ ครั้ง ที่บ่อยมากเป็นพิเศษคือในสมัยจักรพรรดิ หย่งเล่อที่ส่งกองเรือ “มหาสมบัติ” มาอวดแสนยานุภาพ ท� ำให้สมเด็จพระรามราชาธิราช (พ.ศ. ๑๙๓๘- ๑๙๕๒) ส่งราชทูตไปจีน ๔ ครั้งใน ๑ ปี (พ.ศ. ๑๙๔๙) และ ๓ ครั้งใน พ.ศ. ๑๙๕๑ การติดต่อกับจีนในระบบบรรณาการในสมัยอยุธยามีความส� ำคัญมากขึ้น เพราะราชธานีอยู่ใกล้ ทะเลมากกว่าเดิม การค้าทางทะเลจึงมีความส� ำคัญมากกว่าสมัยสุโขทัย ท� ำให้มีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติ มากขึ้น โดยเฉพาะตั้งแต่โปรตุเกสเริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายใน พ.ศ. ๒๐๕๔ ติดตามด้วยชาติตะวันตกอีก ๙ วุฒิชัย มูลศิลป์. “เมื่อประวัติศาสตร์โลกเกือบเปลี่ยนโฉมหน้า : การส� ำรวจทางทะเลของจีนสมัยต้นราชวงศ์หมิง (Ming)” วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๑๘ ฉบับที่ ๑ ตุลาคม – ธันวาคม ๒๕๓๕ หน้า ๓๗-๕๐ กองเรือของเจิ้งเหอใหญ่กว่ากองเรือของวาสโก ดา กามา ที่มาถึงอินเดียเที่ยวแรกมากมาย เพราะมีเรือมาเพียง ๔ ล� ำ ลูกเรือไม่ถึง ๒๐๐ คน ๑๐ สืบแสง พรหมบุญ. ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีนกับไทย . หน้า ๓๘, ๖๒-๖๘ แต่ข้อมูลของ Geoff Wade ใน “The Ming Shi-lu as a Source for Thai History-Fourteenth to Seventeenth Centuries”. Journal of Southeast Asian Studies 31, 2 (Sept 2000). pp. 285-294 นับรวมการติดต่อในลักษณะต่าง ๆ ได้ ๑๗๑ ครั้ง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=