วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

87 รองศาสตราจารย์วุฒิ ชั ย มูลศิ ลป์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ แต่แม้ว่าจะบันทึกตามความจริงหรือผ่านการช� ำระมาแล้ว ใช่ว่าจะไม่มีข้อผิดพลาด ที่ส� ำคัญ การรับรู้ข้อมูล จากการรายงาน ถ้าผู้รายงานไม่รู้จริงหรือรายงานไปไม่ถูกต้อง การบันทึกหรือช� ำระก็ย่อมผิดพลาดได้ ดังจะได้กล่าวต่อไป ในกรณีประวัติศาสตร์ไทยบางเรื่อง เอกสารจีนที่บันทึกไว้เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับไทยสมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ ที่ส� ำคัญ คือ หยวนสื่อ หมิงสือลู่ ชิงสือลู่ ซึ่งได้แปลและพิมพ์เผยแพร่แล้วในส่วนหยวนสื่อและหมิงสือลู่ ส่วนชิงสือลู่ ส� ำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ได้ด� ำเนินการแปลโดยผู้เขียนร่วมกับกรรมการด้วย และทั้งหมด จะพิมพ์ในประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑๓ ในโอกาสต่อไป โดยทั่วไปมักจะกล่าวกันว่า การติดต่อระหว่างไทยกับจีนในระบบจิ้มก้องเริ่มในสมัยสุโขทัย ความเห็นนี้ใช้การสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานีของคนไทยเป็นจุดเริ่มต้น แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าผู้คน หรืออาณาจักรในดินแดนไทยปัจจุบัน ไม่เคยติดต่อกับจีนมาก่อน หลักฐานจีนระบุว่า กษัตริย์ทวารวดีส่งทูต น� ำเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิราชวงศ์ถัง ใน พ.ศ. ๑๑๘๑, ๑๑๘๓, ๑๑๘๖ และ ๑๑๙๒ (ค.ศ. ๖๓๘, ๖๔๐, ๖๔๓ และ ๖๔๙) ตามล� ำดับ ๘ หลอหูหรือละโว้ (ลพบุรี) ส่งทูตน� ำเครื่องราชบรรณาการ ไปถวายจักรพรรดิราชวงศ์ซ่งใน พ.ศ. ๑๖๙๘ (ค.ศ. ๑๑๕๕) และยังคงส่งไปต่อมาอีก เมื่อกุบไลข่านหรือคูบิไลข่านพิชิตราชวงศ์ซ่งใต้ได้ใน พ.ศ. ๑๘๒๒ (ค.ศ. ๑๒๗๙) ท� ำให้พวกมองโกล ปกครองจีนได้ทั้งหมด ก็ได้ส่งทูตไปเรียกร้องหลายชาติที่อยู่ใกล้เคียงให้ยอมอ่อนน้อมและไปถวายเครื่อง ราชบรรณาการ บางชาติยอม แต่บางชาติไม่ยอม เช่น ญี่ปุ่น ท� ำให้กุบไลข่านส่งกองทัพเรือไปโจมตี ๒ ครั้ง แต่ไม่ส� ำเร็จ เพราะถูกไต้ฝุ่น (ซึ่งต่อมาญี่ปุ่นเรียกว่า กามิกาเซ่ - พายุสวรรค์) พัดกองทัพเรือเสียหายอย่าง หนัก จนต้องถอนทัพกลับ กุบไลข่านส่งทูตมาที่สุโขทัยใน พ.ศ. ๑๘๒๕ สมัยพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราช (พ.ศ. ๑๘๒๒-๑๘๔๑) แต่ทูตเดินทางมาไม่ถึง ถูกพวกจามฆ่าตายระหว่างทาง ต่อมาจึงส่งทูตตามมาอีก ท� ำให้พ่อขุนรามค� ำแหง ส่งราชทูตและเครื่องราชบรรณาการไปถวาย ขณะเดียวกันพระองค์กับพระสหาย คือพระยาง� ำเมือง แห่งแคว้นพะเยาและพระยามังรายแห่งแคว้นล้านนา ก็ได้เตรียมการเป็นพันธมิตรเพื่อช่วยเหลือกัน เผื่อจะถูกกองทัพของกุบไลข่านโจมตีเหมือนหลายอาณาจักร เช่น พม่า เวียดนาม ในสมัยสุโขทัย ราชวงศ์หยวนของพวกมองโกลส่งทูตมา ๔ ครั้ง แต่ถึงสุโขทัย ๓ ครั้ง กษัตริย์สุโขทัยส่งราชทูตน� ำเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิราชวงศ์หยวน ครั้งแรก พ.ศ. ๑๘๓๕ ครั้งสุดท้ายใน พ.ศ. ๑๘๖๕ สมัยพระยาเลอไทย (พ.ศ. ๑๘๔๑ - ประมาณ พ.ศ. ๑๘๖๖) หลังจากนี้ก็หยุดไป ประกอบกับในจีนจักรพรรดิที่ครองราชย์ต่อมาไม่มีความสามารถ มีการแย่งชิงอ� ำนาจ และปกครองในเวลาสั้น ๆ รวมจ� ำนวนที่สุโขทัยส่งราชทูตไป ๑๔ ครั้ง ๘ Han Bielenstein, Diplomacy and Trade in the Chinese World 589-1276 . pp. 56-57

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=