วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
ไม่ไปจิ้ มก้อง : ไทยยุติ ความสั มพั นธ์กั บจี น สมั ยรั ชกาลที่ ๔ - รั ชกาลที่ ๕ 86 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ส� ำหรับเครื่องราชบรรณาการที่น� ำไปถวายจักรพรรดิจีน กรณีของไทยมักเป็นของพื้นเมือง ในสมัยธนบุรี เมื่อจักรพรรดิเฉียนหลง จักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ชิง ให้การยอมรับสถานะของ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เครื่องราชบรรณาการที่พระองค์ส่งไปถวายจักรพรรดิจีนใน พ.ศ. ๒๓๒๔ คือ ฝาง ๑๐,๐๐๐ หาบ งาช้าง ๑๐๐ หาบ ดีบุก ๓๐๐ หาบ นอระมาดหนัก ๑ หาบ พริกไทย ๓๐๐ หาบ ช้างพลาย ๑ ช้าง ๔ ถึงสมัยรัตนโกสินทร์เมื่อบ้านเมืองมีความสงบสุขและมั่นคงมากขึ้น พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเพิ่มเครื่องราชบรรณาการมากขึ้น แม้ในระยะแรกอาจจะใช้ของ อย่างอื่นแทนบ้าง เช่น ช้าง ๒ ช้าง นอระมาด งาช้าง อ� ำพัน หางนกยูง การบูร เปลือกกานพลูเอาเปลือก สมุลแวงแทน และถวายทั้ง “ข้างหน้า” คือ จักรพรรดิ และ “ข้างใน” คือมเหสี ส่วนสิ่งของที่จีนให้ตอบแทน เป็นแพรชนิดต่าง ๆ มอบให้ทั้งข้างหน้าและข้างในเช่นกัน ๕ ในบัญชีรัฐบรรณาการของจีนในสมัยราชวงศ์ชิงที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า จีนกล่าวเหมารวมทุก ประเทศที่ติดต่อค้าขายกับจีน โดยเฉพาะประเทศตะวันตก ส่วนประเทศในเอเชียตะวันออกก็มีความแตก ต่างในการที่จีนเรียกว่ารัฐบรรณาการเหมือนกัน เกาหลีและเวียดนาม มีข้าหลวงจีนมาปกครอง และมี บางเวลาที่ชาติทั้งสองพยายามต่อสู้เพื่อปลดแอกจีน ส่วนไทยนั้น จีนไม่เคยส่งข้าหลวงมาปกครอง แต่ ยอมรับกษัตริย์ไทยและพระราชทานตราตั้ง กษัตริย์ไทยมีการจิ้มก้องเป็นประจ� ำ และมีบางครั้งส่งจิ้มก้อง ไปติด ๆ กัน คือทุกปี หรือ ๒ ปี/ครั้ง แทนที่ ๓ ปี/ครั้ง จนทางการจีนเตือนให้ไทยปฏิบัติตามข้อก� ำหนด ให้เคร่งครัด ความส� ำคัญของการจิ้มก้องต่อไทย (พ.ศ. ๑๘๓๕-๒๓๙๖) หลักฐานการติดต่อกับจีน ในสมัยแรก ๆ เราต้องใช้หลักฐานที่จีนจดบันทึกไว้ หลักฐานของไทย ที่ยังมีอยู่จะเป็นสมัยธนบุรีเป็นต้นมา ในการใช้หลักฐานของจีนแม้จะเป็นที่ยอมรับกันว่า จีนให้ความส� ำคัญใน การจดบันทึกและมีเจ้าหน้าที่ในเรื่องนี้โดยเฉพาะ ซึ่งจะท� ำการจดบันทึกความจริงอย่างซื่อสัตย์และเที่ยงตรง แม้จักรพรรดิจะขอดูที่จดบันทึกก็ไม่ยอม จนมีการเรียกหลักฐานนี้ว่า “สือลู่” (Shilu - บันทึกตามความ จริงหรืออย่างเที่ยงตรง) ๖ หรือประวัติศาสตร์ราชวงศ์ ซึ่งผ่านการช� ำระโดยคณะกรรมการที่มีการแต่งตั้ง ขึ้นมาและตรวจสอบ จากหลักฐานต่าง ๆ รวมถึงสือลู่ เป็นประวัติศาสตร์ฉบับหลวงหรือฉบับราชการ เรียกว่า “สื่อ” (Shi - ประวัติศาสตร์ฉบับหลวง) ๗ เช่น หยวนสื่อ (Yuanshi - ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หยวนฉบับหลวง) ๔ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ. สัมพันธภาพระหว่างไทย - จีน. หน้า ๑๘ ๕ เพิ่งอ้าง . หน้า ๓๕-๓๖. เป็นเครื่องราชบรรณาการ พ.ศ. ๒๓๒๙ ๖ Endymion Wilkinson. Chinese History, A New Manual . p. 611 ๗ Ibid . p. 622
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=