วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

85 รองศาสตราจารย์วุฒิ ชั ย มูลศิ ลป์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ จิ้มก้องและระเบียบโลกของจีน จิ้มก้อง หรือ จิ้นก้ง ในภาษาจีนกลาง หมายถึงการถวายเครื่องราชบรรณาการจากประเทศราช แด่จักรพรรดิจีน เพื่อให้จักรพรรดิจีนยอมรับฐานะและพระราชทานตราตั้งเป็นกษัตริย์ ดังที่พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวไว้ จิ้มก้องเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบโลกในทัศนะของจีน ซึ่งวิวัฒนาการมาตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่น พ.ศ. ๓๓๗-๕๕๒, ๒๐๖ ปีก่อน ค.ศ. - ค.ศ. ๙ และ พ.ศ. ๕๖๘-๗๖๓, ค.ศ. ๒๕-๒๒๐) ที่ว่าจีนเป็นศูนย์กลางของโลกแวดล้อมด้วยพวกป่าเถื่อน จนกระทั่งสมัยราชวงศ์ชิง โดยจีน แบ่งประเทศที่อยู่ล้อมรอบเป็น ๓ ประเภท ตามใกล้ไกล หรือป่าเถื่อนน้อย มาก อยู่ใกล้จีนก็ป่าเถื่อนน้อย อยู่ไกลก็ป่าเถื่อนมากคือ (๑) เขตรับวัฒนธรรมจีน เช่น เกาหลี เวียดนาม (๒) เขตเอเชียใน เช่น มองโกเลีย เอเชียกลาง (๓) เขตนอกที่อยู่ห่างไกล เช่น สยาม โปรตุเกส ๒ ตามระเบียบโลกของจีนซึ่งใช้กันต่อมา แม้ว่าจีนจะอยู่ภายใต้การปกครองของต่างชาติ คือ พวกมองโกลที่ตั้งราชวงศ์หยวน (พ.ศ. ๑๘๒๒-๑๙๑๑, ค.ศ. ๑๒๗๙-๑๓๖๘) หรือพวกแมนจูที่ตั้งราชวงศ์ ชิงปกครองจีน ก็ใช้ระเบียบโลกตามแบบจีนเช่นกัน กระทรวงที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ กระทรวง พิธีการ ๓ ประเทศราชจะต้องน� ำเครื่องราชบรรณาการมาถวายตามเวลาและขึ้นที่เมืองท่าตามที่ก� ำหนดไว้ ก่อนจะเดินทางสู่เมืองหลวง เพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการและเฝ้าจักรพรรดิ โดยสมัยราชวงศ์ชิง มีข้อก� ำหนดไว้ดังนี้ เกาหลีถวายปีละ ๔ ครั้ง ผ่านเมืองมุกเด็นและด่านซานไห่กวน เวียดนามถวาย ๒ ปี ต่อครั้ง ผ่านเมืองเจิ้นหนานกวานและกว่างซี สยามถวาย ๓ ปีต่อครั้ง ผ่านเมืองกวางตุ้ง (กว่างโจว) โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษ ไม่ก� ำหนดเวลาที่ชัดเจนและให้ผ่านเมืองมาเก๊า เสนาบดีกระทรวงพิธีการเป็นผู้น� ำราชทูตและคณะเข้าเฝ้าจักรพรรดิที่พระราชวังหลวง เมื่อ เข้าเฝ้าคณะราชทูตต้อง “กุ๋ย” หรือเกาเตา (โค่วโถว ในภาษาจีนกลาง) คือการท� ำความเคารพแบบจีน โดยคุกเข่า ๓ ครั้ง แต่ละครั้งต้องก้มศีรษะ ๓ ครั้ง ให้หน้าผากจรดพื้น รวมต้องก้มศีรษะ ๙ ครั้ง เรื่อง เกาเตาเป็นปัญหาใหญ่เมื่ออังกฤษส่งทูตไปเจรจากับจีน ตั้งแต่ลอร์ดแมกคาร์ตนีย์ไปจีนเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๖ (ค.ศ. ๑๗๙๓) โดยลอร์ดแมกคาร์ตนีย์ไม่ยอมท� ำเกาเตา แต่จักรพรรดิเฉียนหลง (Qianlong พ.ศ. ๒๒๗๙- ๒๓๓๘, ค.ศ. ๑๗๓๖-๑๗๙๕) ผ่อนปรนให้คุกเข่าข้างหนึ่งเมื่อเข้าเฝ้า ซึ่งถือเป็นเรื่องพิเศษ ๒ John K. Fairbank. The Chinese World Order . pp. 4-14 และ สืบแสง พรหมบุญ. ความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการระหว่างจีน กับไทย . กาญจนี ละอองศรี แปล หน้า ๓-๔. ๓ จีนแบ่งการปกครองส่วนกลางเป็น ๖ กระทรวง คือ กระทรวงฝ่ายพลเรือน (มหาดไทย), ภาษีอากร (คลัง), พิธีการ, สงคราม (กลาโหม), การลงโทษ (ยุติธรรม) และงานสาธารณะ (โยธาธิการ) จนปลายราชวงศ์ชิง จึงตั้งกระทรวงการต่างประเทศ เพราะถูกชาติตะวันตก บีบบังคับให้ตั้ง, Immanuel C.Y. Hsu, The Rise of Modern Chinese . Fourth Edition, p. 56

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=