วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
77 รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิ ท วงศ์สุรวั ฒน์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ (๑) สมุหกลาโหม มีอ� ำนาจควบคุมการทหารในราชธานี และกิจการทั้งในฝ่ายทหารและ พลเรือนในหัวเมืองทางใต้ แม้ว่าสมุหกลาโหมจะได้อ� ำนาจสั่งการฝ่ายพลเรือนเพิ่มขึ้นแต่ก็ต้องเสียอ� ำนาจ ทางการทหารไป (๒) สมุหนายก ท� ำหน้าที่ถ่วงดุลอ� ำนาจของสมุหกลาโหม มีหน้าที่รับผิดชอบกิจการพลเรือน ในราชธานี (๔ กรม) และมีหน้าที่ดูแลก� ำลังทหารพร้อมทั้งกิจการพลเรือนของหัวเมืองทางเหนือทั้งหมด (๓) พระโกษาธิบดี ปกติจะว่าการกรมคลัง/กรมท่า หน้าที่ส� ำคัญคือการดูแลรายรับรายจ่าย ของแผ่นดินและการค้าขายกับต่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้รับมอบหมายให้ดูแลก� ำลังทหารและกิจการ พลเรือนของหัวเมืองฝ่ายตะวันออกทั้งหมด อย่างไรก็ตาม เมื่อมาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้วการ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของหลักการจัดรูปการปกครองที่ได้รับการวางรากฐานมาแต่รัชสมัย ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถก็สามารถสรุปได้จาก “พระราชนิพนธ์ว่าด้วยธรรมเนียมขุนนางไท” ของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งได้ตีพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณวิเศษ ดังจะได้น� ำเสนอโดย ละเอียดดังนี้ ๕ “ขุนนางในเมืองเรานี้ ไม่ได้เปนสืบตระกูลเหมือนดังประเทศข้างตะวันตก เปนธรรมเนียม คล้ายกับเมืองจีน ยสบันดาศักดิ์กับออฟฟิศร่วมกัน เมื่อมียศบันดาศักดิ์แล้ว ก็มีออฟฟิศว่าด้วยถ้าออกจาก ออฟฟิศก็เป็นสิ้นยสบันดาศักดิ์ไป เว้นแต่ที่พระเจ้าแผ่นดินโปรดให้มียสคงอยู่ โดยผู้นั้นได้มีความชอบมา แต่เดิม เพราะฉะนั้นขุนนาง จึ่งได้รับราชการตลอดอายุโดยมาก เมื่อขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยก็ดีมีบุตรต้องถวาย ตัวพระเจ้าแผ่นดินเปนมหาดเล็กรับราชการ เปนแต่การใช้สอยเล็กน้อยใกล้เคียงพระเจ้าแผ่นดิน มีเบี้ยหวัด บ้างเล็กน้อย เมื่อได้รับราชการอยู่ใกล้เจ้าแผ่นดินดังนั้น ก็ได้ยินได้ฟังราชการ ซึ่งขุนนางเจ้าพนักงานน� ำมา กราบทูล แลเจ้าแผ่นดินรับสั่งไปเปนการเรียนราชการอยู่เสมอ เมื่อเจ้าแผ่นดินเห็นว่าผู้นั้นคุ้นเคยในราชการ เข้าบ้างแล้ว ก็ใช้ให้ไปตรวจราชการต่าง ๆ บ้าง มหาดเล็กผู้นั้นต้องคิดเรียบเรียงถ้อยค� ำที่จะกราบทูลด้วยปาก บ้าง ด้วยหนังสือบ้างเปนเหมือนหนึ่งเอเซ จนเจ้าแผ่นดินเหนว่าผู้นั้นสมควรจะมีต� ำแหน่งราชการ ก็ค่อย เลื่อน ยสขึ้นไปทีละน้อยๆ ตามล� ำดับ ไม่ว่าบุตรขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อย แล้วแต่พระเจ้าแผ่นดินจะโปรดองค์เดียว เพราะธรรมเนียมเปนดังนี้ ถ้าขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยผู้ใดมีบุตรดีที่ได้ทดลองแล้ว พระเจ้าแผ่นดินเหนสมควร ที่จะได้รับราชการสืบตระกูลบิดาได้ ก็ได้เลื่อนยสให้สืบตระกูลบิดาไปบ้าง แต่ที่ไม่ได้สืบตระกูลเสียนั้น โดยมาก เพราะบุตรไม่ดีเหมือนบิดา ก� ำหนดบันดาศักดิ์ขุนนางพระเจ้าแผ่นดินต้องตั้งนั้น ตั้งแต่ศักดินา ๕ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ๒๔๓๑. “ว่าด้วยธรรมเนียมขุนนางไท”. ใน วชิรญาณวิเศษ . (กรุงเทพฯ : หอสมุดวชิรญาณ), หน้า ๒๗๗–๒๘๐.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=