วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

75 รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิ ท วงศ์สุรวั ฒน์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ (๔) จัดแบ่งการปกครองออกเป็น ๒ ส่วนใหญ่  ๆ ได้แก่ การปกครองส่วนกลาง และการปกครอง ส่วนภูมิภาค รายละเอียดของการจัดรูปการปกครองของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นดังนี้ ๑. การปกครองส่วนกลาง มีศูนย์กลางแห่งอ� ำนาจอยู่ที่เมืองราชธานี และยกเลิกระบบเมือง หน้าด่านเพื่อตัดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติของเชื้อพระวงศ์ ทั้งเพื่อขยายอ� ำนาจของราชธานีให้กว้างขวาง มากยิ่งขึ้น การกลืนเมืองใกล้เคียงเข้ามาเป็นราชธานี เปลี่ยนแปลงระบบจตุสดมภ์ ให้ซับซ้อนขึ้น โดยมีการแยกกิจการพลเรือนและกิจการทหาร ออกจากกัน ให้มี “อัครเสนาบดี” รับผิดชอบ ๒ ต� ำแหน่ง คือ สมุหนายก และสมุหกลาโหม “ สมุหนายก” มีหน้าที่บังคับบัญชาและตรวจราชการ ดูแลสิ่งที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายพลเรือน ทั้งหมด โดยโครงสร้างในการดูแลกิจการพลเรือนนั้น มีลักษณะเดียวกับจตุสดมภ์ คือ แบ่งออกเป็น ๔ กรม แต่ละกรมมีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา ให้ขึ้นตรงต่อสมุหนายก ดังนี้ - กรมนครบาล (เดิม คือ กรมเวียง) พระยายมราช - กรมธรรมาธิกรณ์ (เดิม คือ กรมวัง) พระยาธรรมาธิบดี - กรมโกษาธิบดี (เดิม คือ กรมคลัง) พระยาศรีธรรมราชหรือราชโกษาธิบดี - กรมเกษตราธิการ (เดิม คือ กรมนา) พระยาเกษตราธิบดีหรือพลเทพ “สมุหกลาโหม” มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทหารทั้งหมด เช่น การเกณฑ์ไพร่พล จัดหาเสบียง และวางแผนการรบในยามสงคราม การฝึกไพร่พล บังคับบัญชากรมต� ำรวจและกรมทหารรักษาพระองค์ โครงสร้างทางกิจการทหารนั้น แบ่งเป็น กองทัพบก มีพระยาสีหราชเดโชชัย เป็นเสนาบดี และกองทัพเรือ มีพระยาสีหราชฤทธิไกร เป็นเสนาบดี ๒. การปกครองส่วนภูมิภาค สิ่งส� ำคัญที่สุดก็คือ การดึงอ� ำนาจที่แต่เดิมกระจายกันอยู่ตาม หัวเมืองต่าง ๆ ให้เข้ามาอยู่ที่ศูนย์กลาง คือ ราชธานี ให้มากที่สุด เมื่อยุบเมืองหน้าด่านลง ดังนั้น เมืองที่ อยู่รายรอบราชธานีจึงเหลือเพียง หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก (เดิม คือ เมืองพระยามหานคร) และ หัวเมืองประเทศราช ๒.๑ หัวเมืองชั้นใน บางครั้งเรียกว่า เมืองจัตวา กษัตริย์จะทรงส่ง “ผู้รั้ง” ออกไปปกครอง ซึ่งผู้รั้งนี้เป็นขุนนางที่ขึ้นตรงต่อกษัตริย์และเสนาบดีในราชธานี ตัวอย่างเมืองชั้นใน เช่น ราชบุรี เพชรบุรี นครชัยศรี สุพรรณบุรี นครสวรรค์ ชลบุรี ปราจีนบุรี นครนายก ๒.๒ หัวเมืองชั้นนอก เดิมเมืองพระยามหานคร มีการปกครองโดยเจ้าเมืองที่เป็น เชื้อสายผู้ปกครองเดิม จึงค่อนข้างมีอิสระในการปกครองตัวเอง ดังนั้น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรง เปลี่ยนแปลงโดยให้กษัตริย์ทรงแต่งตั้งข้าราชการเข้าไปปกครองเมืองเหล่านี้ ระบบการปกครองภายใน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=