วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
การปกครองของสยามก่อนการปฏิ รูปการปกครอง พ.ศ. ๒๔๓๕ 74 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ให้เจ้าเมืองเก่าเป็นผู้ปกครองเมืองนั้น ๆ แต่หากเจ้าเมืองแข็งข้อกับราชธานี กษัตริย์ก็จะทรงส่งกองทัพไป ปราบปรามและตั้งให้ขุนนางที่ไว้วางใจไปปกครองแทน เช่น เมืองนครราชสีมา เมืองจันทบุรี เมืองสงขลา ๕. เมืองประเทศราช เป็นเมืองขึ้นที่กรุงศรีอยุธยาสามารถแผ่อ� ำนาจไปให้เข้ามายอมอ่อนน้อม สวามิภักดิ์ได้ เช่น ยกกองทัพไปปราบ แต่เนื่องจากเมืองเหล่านี้อยู่ไกลจากราชธานีมาก จึงคงให้ผู้ปกครอง เดิมปกครองกันเองต่อไป เพื่อแต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ เช่น ต้นไม้เงินต้นไม้ทอง มาให้กษัตริย์ ที่อยุธยา ตามระยะเวลาที่ก� ำหนด เช่น ทุก ๓ ปี หัวเมืองประเทศราชก็มี เช่น สุโขทัย เขมร ช่วงปฏิรูปการปกครองสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๙๑–๒๐๓๑) การจัดรูปการปกครองของกรุงศรีอยุธยาในช่วงสถาปนานั้น เมื่อใช้ไปได้ระยะเวลาหนึ่งก็เริ่มเกิด ปัญหา โดยปัญหาส� ำคัญคือ อ� ำนาจในการควบคุมและก� ำกับการปกครองในดินแดนที่ห่างไกล กล่าวคือ นอกจากเมืองราชธานี เมืองหน้าด่าน และหัวเมืองชั้นในแล้ว กษัตริย์ไม่สามารถปกครองเมืองที่อยู่ไกล ออกไปได้อย่างแท้จริง ดังนั้น เมื่ออาณาจักรขยายตัวออกไปมากขึ้นเรื่อย ๆ การกระจายอ� ำนาจที่มาก เกินไปก็กลายเป็นปัญหาในการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ และเมื่อถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นพระมหากษัตริย์ล� ำดับที่ ๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา อาณาเขตของอาณาจักรอยุธยาก็ขยายกว้างขวาง ออกไปมากเนื่องจาก พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ หรือเจ้าสามพระยา (ราชวงศ์สุพรรณภูมิ) โดยมีพระชนนีเป็นพระราชธิดาของพระมหาธรรมราชาที่ ๓ (ไสยลือไทย) แห่งราชวงศ์พระร่วง ดังนั้น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงมีสายเลือดของทั้งฝ่ายอยุธยา และ ฝ่ายสุโขทัย ท� ำให้พระองค์ใช้ประเด็นนี้อ้างสิทธิ์ในการปกครองกรุงสุโขทัยและสามารถรวมเอาสุโขทัย เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาได้ส� ำเร็จ ทั้งยังสามารถลดฐานะของสุโขทัยจากเมือง ประเทศราชมาเป็นหัวเมืองของกรุงศรีอยุธยาโดยสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๐๐๖ แต่จากการนี้ก็ท� ำให้ปัญหา จากการจัดรูปการปกครองของกรุงศรีอยุธยาในช่วงสถาปนามีอาการหนักขึ้น จึงต้องออกแบบการปกครอง ให้เป็นปึกแผ่นมั่นคง ป้องกันการแข็งข้อของบรรดาเมืองประเทศราชต่าง ๆ และเพื่อประโยชน์ในการต่อสู้ กับอาณาจักรล้านนาทางตอนเหนือ หลักการส� ำคัญในการปฏิรูปการปกครองของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สามารถสรุปเนื้อหาได้ เป็น ๔ ประการ ดังนี้ (๑) การรวบรวมอ� ำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางในราชธานีให้มากที่สุด (๒) เริ่มการก� ำหนดท� ำเนียบศักดินาของชนทุกชั้นขึ้นเป็นครั้งแรก โดยผู้ที่เป็นขุนนางจะถือศักดินา ตั้งแต่ ๔๐๐ ขึ้นไป กระทั่งพระมหาอุปราชที่มีศักดินา ๑๐๐,๐๐๐ (๓) เริ่มการก� ำหนดตั้งยศ (บรรดาศักดิ์) และราชทินนาม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=