วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
73 รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิ ท วงศ์สุรวั ฒน์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ระบบการปกครองภายในเมืองราชธานี เรียกว่า “จตุสดมภ์” แบ่งหน่วยงานในการปกครอง ที่ส� ำคัญออกเป็น ๔ กรม โดยแต่ละกรมมี “เสนาบดี” เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด ได้แก่ (๑) กรมเวียง มีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของราษฎรในราชธานี มีหน้าที่จับผู้กระท� ำความผิด มาสอบสวนลงโทษ (เสนาบดี คือ ขุนเวียง) (๒) กรมวัง มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องที่เกี่ยวกับราชส� ำนัก และพิจารณาพิพากษาคดีความ ต่าง ๆ (เสนาบดี คือ ขุนวัง) (๓) กรมคลัง มีหน้าที่หารายได้ให้ทางราชการ (เสนาบดี คือ ขุนคลัง) (๔) กรมนา มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการเกษตร กรมนาจะเป็นผู้ที่ให้กรรมสิทธิ์ในการถือครอง ที่ดิน และเก็บภาษีจากการท� ำการเกษตร เช่น ภาษีหางข้าว (เสนาบดี คือ ขุนนา) ๒. เมืองหน้าด่าน หรือเมืองลูกหลวง เป็นเมืองที่อยู่รายรอบราชธานีทั้ง ๔ ทิศ มักมีระยะห่าง จากราชธานีเป็นระยะเดินทางประมาณ ๒ วัน โดยกษัตริย์จะทรงส่งเชื้อพระวงศ์ที่ใกล้ชิดไปท� ำหน้าที่ ปกครอง ได้แก่ เมืองลพบุรี เมืองนครนายก เมืองพระประแดง และเมืองสุพรรณบุรี ภาพที่ ๑ แสดงต� ำแหน่งเมืองลูกหลวงในการจัดรูปการปกครองช่วงสถาปนากรุงศรีอยุธยา ๓. เมืองชั้นใน เป็นเมืองที่อยู่รอบราชธานีถัดออกไปจากเมืองหน้าด่าน เมืองเหล่านี้อยู่ ไม่ไกลราชธานีจนเกินไป กษัตริย์จึงยังคงสามารถใช้อ� ำนาจปกครองดูแลได้ ผ่านขุนนางที่เรียกว่า “ผู้รั้ง” ซึ่งพระองค์ส่งไปปกครองเมืองเหล่านั้น หัวเมืองชั้นใน เช่น ราชบุรี สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี ๔. เมืองพระยามหานคร หรือเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ห่างออกไปจากหัวเมืองชั้นในอีก เมือง เหล่านี้จะต้องเสียภาษีอากรต่าง ๆ รวมทั้งต้องเกณฑ์ผู้คนเข้าร่วมเป็นก� ำลังในกองทัพยามเมื่อมี ศึกสงคราม ซึ่งเมืองเหล่านี้มักจะมีตระกูลเจ้าเมืองปกครองสืบเชื้อสายกันมาก่อน ดังนั้น กษัตริย์จะทรง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=