วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
การปกครองของสยามก่อนการปฏิ รูปการปกครอง พ.ศ. ๒๔๓๕ 72 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 การสร้างความสัมพันธ์ทางเครือญาติต่อกันผ่านการแต่งงานมากกว่า และการอ้างสิทธิ์อ� ำนาจเหนือเมือง เหล่านี้ก็ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดแต่อย่างใด มักเป็นแต่เพียงการอ้างความสัมพันธ์ในฐานะที่เป็นเมือง ของเครือญาติกันเท่านั้น และบางเมืองก็อาจเป็นเพียงการให้ความยอมรับว่ากรุงสุโขทัยมีความเข้มแข็ง กว่าเท่านั้น เช่น หงสาวดี (มอญ) เวียงจันทน์ ทว่าสิทธิในการปกครองยังคงเป็นสิทธิ์ขาดของราชวงศ์ที่ ปกครองเมืองเหล่านั้น จะเห็นได้ว่าการจัดรูปการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยนั้น บทบาทส� ำคัญยังคงอยู่ในมือของ เหล่าเชื้อพระวงศ์เป็นส� ำคัญ โดยความเข้มข้นในการปกครองก็ยังมีวงจ� ำกัดอยู่ในเขตเมืองราชธานีและ เมืองลูกหลวงเท่านั้น ส่วนเมืองที่อยู่ห่างออกไป ได้แก่เมืองท้าวพระยามหานครนั้น ก็ต้องเป็นการยอมรับ อ� ำนาจซึ่งกันและเป็นการประนีประนอมโดยให้อ� ำนาจแก่เชื้อสายของเจ้าเมืองเดิมที่ปกครองมา และ น้อยครั้งที่จะมีการส่งขุนนางไปปกครองแทนในกรณีที่เกิดการกระด้างกระเดื่องขึ้น จนอาจกล่าวได้ว่าเหล่า ขุนนางทั้งหลายยังไม่มีบทบาทส� ำคัญในการควบคุมอ� ำนาจการปกครองในรูปการปกครองเช่นนี้ ส� ำหรับ เมืองออกหรือเมืองขึ้นนั้นก็มิต้องกล่าวถึงมาก เพราะแทบอยู่นอกเหนือจากการควบคุมของเมืองราชธานี ไปเลยทีเดียว การจัดรูปการปกครองของกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ก่อน พ.ศ. ๒๔๓๕ การจัดรูปการปกครองของกรุงศรีอยุธยานี้ มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องนับแต่การสถาปนา กรุงศรีอยุธยาเป็นต้นมา ทั้งนี้ เราอาจแบ่งลักษณะการจัดรูปการปกครองของกรุงศรีอยุธยา ได้เป็น ๓ ช่วง ด้วยกัน ช่วงสถาปนากรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. ๑๘๙๓-๑๙๙๑) ยุคนี้ระบบการปกครองจะคล้ายคลึงกับอาณาจักรสุโขทัย คือ มีการกระจายอ� ำนาจค่อนข้างมาก โดยแบ่งเมืองออกเป็น เมืองราชธานี เมืองหน้าด่าน เมืองชั้นใน เมืองพระยามหานคร และเมืองประเทศราช อย่างไรก็ตาม ฐานะของกษัตริย์ของอาณาจักรอยุธยาเริ่มมีสถานภาพเป็น “สมมติเทพ” มิได้มีลักษณะเป็น “พ่อขุน” อย่างอาณาจักรสุโขทัย และบรรดาขุนนางก็เริ่มมีบทบาทในการกุมอ� ำนาจทางการปกครองมากขึ้น โดยเฉพาะในการที่ได้มีอ� ำนาจปกครองตั้งแต่เขตเมืองชั้นในออกไป การจัดการปกครองของช่วงสถาปนา กรุงศรีอยุธยานี้ แบ่งได้เป็น ๕ ระดับ ดังนี้ ๑. เมืองราชธานี กษัตริย์ทรงมีอ� ำนาจเด็ดขาดในเมืองราชธานี แต่พระองค์จะใช้อ� ำนาจผ่านทาง ขุนนางค่อนข้างมาก ผิดกับสมัยสุโขทัย ที่กษัตริย์มักท� ำหน้าที่ต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้เนื่องจากกษัตริย์ ทรงเป็นสมมติเทพ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=