วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
71 รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิ ท วงศ์สุรวั ฒน์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ อันท่านแขวนไว้ ...” อย่างไรก็ตาม รูปแบบการปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้ เป็นลักษณะเด่นเฉพาะใน ช่วงของ ๓ รัชกาลแรกของกรุงสุโขทัยคือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนบาลเมือง และพ่อขุนรามค� ำแหง ซึ่งเป็นช่วงที่อาณาจักรสุโขทัยยังไม่มีอาณาเขตที่กว้างขวางมากนัก แต่เมื่อได้มีการขยายอาณาเขตให้ กว้างขวางมากขึ้นตั้งแต่รัชสมัยของพ่อขุนรามค� ำแหงแล้ว ก็เป็นผลให้อาณาจักรสุโขทัยต้องด� ำเนินการวางรูป การปกครองให้เหมาะสมกับลักษณะมากขึ้น โดยผสมผสานระหว่างการรวมอ� ำนาจและการกระจายอ� ำนาจ ซึ่งกษัตริย์จะมีอ� ำนาจสิทธิ์ขาดเต็มที่ในเขตราชธานี ส่วนเมืองที่อยู่ห่างไกลออกไปอ� ำนาจมักจะตกอยู่ แก่ผู้ปกครองเมืองนั้น ๆ เป็นหลัก ทั้งนี้สามารถสรุปวิธีการจัดรูปการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยได้ว่า แบ่งออกเป็น ๔ ระดับ ดังนี้ ๑. เมืองราชธานี คือ เมืองสุโขทัย เป็นความรับผิดชอบโดยตรงของกษัตริย์ โดยกษัตริย์มีอ� ำนาจ ตัดสินชี้ขาดในทุกเรื่องภายในเขตเมืองราชธานี เนื่องจากราชธานีเป็นศูนย์กลางการปกครองที่ส� ำคัญที่สุด ของอาณาจักร จึงตั้งอยู่ใจกลางอาณาจักร และมีเมืองส� ำคัญอันดับรองล้อมรอบ ๒. เมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่าน เป็นเมืองที่ล้อมรอบราชธานีชั้นในสุด กษัตริย์มักจะ ส่งเชื้อพระวงศ์ที่สนิทใกล้ชิดที่สุด ส่วนมากมักเป็นพระราชโอรส ออกไปปกครองเมืองเหล่านี้ อันจะท� ำ หน้าที่เป็นปราการด่านสุดท้ายก่อนที่อริราชศัตรูจะบุกเข้าไปถึงเมืองราชธานี การที่กษัตริย์ส่งเชื้อพระวงศ์ ใกล้ชิดไปปกครองเมืองลูกหลวงสาเหตุหลักมาจากความเชื่อใจญาติสนิทมากกว่าอย่างอื่น เมืองลูกหลวง ของกรุงสุโขทัย แบ่งออกเป็น ๔ เมือง ในแต่ละทิศ ดังนี้ - ทิศเหนือ คือ เมืองศรีสัชนาลัย (มีพื้นที่อยู่ในเขตจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน) - ทิศตะวันออก คือ เมืองสองแคว (มีพื้นที่อยู่ในเขตจังหวัดพิษณุโลกในปัจจุบัน) - ทิศใต้ คือ เมืองสระหลวง (มีพื้นที่อยู่ในเขตจังหวัดพิจิตรในปัจจุบัน) - ทิศตะวันตก คือ เมืองนครชุม (มีพื้นที่อยู่ในเขตจังหวัดก� ำแพงเพชรในปัจจุบัน) ๓. เมืองท้าวพระยามหานคร เมืองเหล่านี้ล้อมรอบราชธานีถัดจากเมืองลูกหลวงออกไปอีก ชั้นหนึ่ง กษัตริย์มักจะมอบหมายให้เจ้าเมืองซึ่งเป็นเชื้อสายของเจ้าผู้ปกครองเมืองแต่เดิม ท� ำหน้าที่ ปกครองเมืองเหล่านี้ต่อไป ทั้งนี้ เมืองท้าวพระยามหานครนี้ถือว่าถูกครอบง� ำทางอ� ำนาจจากเมืองราชธานี อย่างสมบูรณ์ในทางสัญลักษณ์ มีข้อแม้คือหากเมืองเหล่านี้แสดงอาการแข็งข้อต่ออ� ำนาจของราชธานี เมื่อใด กษัตริย์ก็จะทรงส่งกองทัพไปปราบปราม แล้วแต่งตั้งให้ขุนนางที่ทรงไว้วางพระราชหฤทัยไป ปกครองเมืองเหล่านั้นแทน เมืองท้าวพระยามหานคร มีอู่ทอง ราชบุรี เพชรบุรี แพร่ หล่มสัก ศรีเทพ พระบาง เชียงทอง เป็นต้น ๔. เมืองออก หรือเมืองขึ้น เมืองเหล่านี้มักเป็นเมืองของชาวต่างชาติต่างภาษา ส� ำหรับอาณาจักร สุโขทัยแล้ว เมืองออกต่าง ๆ ที่ได้มานั้น ส่วนใหญ่มิใช่ได้มาจากการกระท� ำสงครามตีชิงมาได้ หากแต่เป็น
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=