วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

การปกครองของสยามก่อนการปฏิ รูปการปกครอง พ.ศ. ๒๔๓๕ 70 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ในพระราชด� ำรัสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ว่า “การปกครองอย่างเก่านั้นก็ยิ่ง ไม่สมกับความต้องการของบ้านเมือง” หมายถึงว่า การปกครองที่เป็นมาแต่ในอดีตนั้นล้าสมัยไม่เหมาะสม ที่จะใช้ปกครองในยุคสมัยของพระองค์อีกต่อไป มิได้หมายถึงว่ารูปแบบการปกครองแต่ก่อนนั้นไม่ดีเพียง แต่ไม่เหมาะสมกับกาลสมัยเสียแล้ว อย่างไรก็ดี รูปแบบการปกครองที่เป็นมาแต่ในอดีตก็มีความเหมาะสม เพียงพอในแต่ละยุคสมัยเท่าที่เทคโนโลยีและบริบทแวดล้อมในยุคสมัยนั้น  ๆ จะอ� ำนวยให้ ทั้งนี้ ขอให้พิจารณาจากกรณีที่พระยามหาอ� ำมาตยาธิบดี (เสง วิริยศิริ) ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้าราชการที่ มีความสามารถที่สุดท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์ของกระทรวงมหาดไทยได้เข้าร่วมงานในกระทรวงมหาดไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ ท่านมีความแน่ใจว่าในขณะนั้นผู้บังคับบัญชาท่านรู้จักหัวเมืองชายแดนเพียงแต่ชื่อเท่านั้น ทั้งยังไม่สามารถชี้ต� ำแหน่งหัวเมืองชายแดนบนแผนที่ได้ และเชื่ออีกด้วยว่าท่านเหล่านั้นไม่ใคร่จะล่วงรู้ เรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ชายแดนที่เกิดขึ้นนัก ๓ ซึ่งเรื่องนี้ถ้านับจากมาตรฐานการปกครองในปัจจุบัน แล้วถือได้ว่าเป็นความผิดร้ายแรง แต่โดยมาตรฐานของสยามเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ แล้วข้อบกพร่องนี้เป็น เรื่องที่เข้าใจได้ ทั้งนี้เป็นเพราะข้าราชการชั้นสูงเหล่านั้นไม่ค่อยคุ้นเคยกับการใช้แผนที่นักซึ่งไม่อาจถือว่า เป็นความบกพร่องได้ เพราะแผนที่ที่เชื่อถือได้ชุดแรกของสยามเพิ่งได้รับการตีพิมพ์ใน พ.ศ. ๒๔๓๐ ๔ บทความชิ้นนี้ประสงค์จะน� ำเสนอถึงหลักในการวางรูปการปกครองของไทยที่มีมาก่อนการปฏิรูป การปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. ๒๔๓๕ เพื่อเป็นการทบทวนและ การท� ำความเข้าใจถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและด� ำรงอยู่ก่อนการปฏิรูปการปกครอง อันจะท� ำให้มีความ เข้าใจในพระราชด� ำรัสที่ว่า “จะแก้ไขธรรมเนียมการปกครองให้สมกับเวลา” ได้อย่างลึกซึ้งขึ้น จุดเริ่มต้นการปกครองของสยาม ในการนี้จะน� ำเสนอถึงการจัดรูปการปกครองโดยเริ่มที่อาณาจักรสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น ของ “ประวัติศาสตร์ชาติ” ตามแบบแผนที่เป็นทางการ ซึ่งในช่วงของอาณาจักรสุโขทัยนี้ เป็นที่ทราบ กันดีโดยทั่วไปว่ารูปของการปกครองเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า “พ่อปกครองลูก” กล่าวคือ กษัตริย์ เปรียบเสมือนพ่อของครอบครัวใหญ่ ที่ให้ความเมตตาต่อลูกคือประชาชนให้อยู่เย็นเป็นสุข และมีความ ใกล้ชิดกับราษฎรมาก ดังมีข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า “...ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั่น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้าน กลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวถึง เจ้าถึง ขุน บ่ ไว้ ไปสั่นกระดิ่ง ๓ พระยามหาอ� ำมาตยาธิบดี (เสง วิริยศิริ). ๒๔๙๕. “เรื่องมหาดไทย” ใน อนุสรณ์เนื่องในงานฉลองวันที่ระลึกสถาปนากระทรวงมหาดไทย ครบรอบ ๖๐ ปีบริบูรณ์ . (กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย), หน้า ๘๐. ๔ พระยามหาอ� ำมาตยาธิบดี (เสง วิริยศิริ). ๒๔๙๙. เรื่องก� ำเนิดแผนที่. (กรุงเทพฯ : มปท.), หน้า ๒๓.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=