วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
69 รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิ ท วงศ์สุรวั ฒน์ วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ ครั้งเมื่อล่วงมาถึงปัจจุบันนี้บ้านเมืองยิ่งเจริญขึ้นกว่าแต่ก่อนหลายเท่า การปกครองอย่างเก่านั้นก็ยิ่งไม่สมกับ ความต้องการของบ้านเมืองหนักขึ้นทุกที จึ่งได้มีความประสงค์อันยิ่งใหญ่ที่จะแก้ไขธรรมเนียมการปกครอง ให้สมกับเวลา ให้เป็นทางที่จะเจริญแก่บ้านเมือง ได้คิดและได้พูดมาช้านาน แต่การหาตลอดไปได้ไม่ ด้วย มีเหตุขัดขวางต่าง ๆ เป็นอันมาก และการที่จะจัดนั้นก็เป็นการหนัก ต้องอาศัยก� ำลังสติปัญญา และความ ซื่อตรงความจงรักภักดีของท่านทั้งปวงผู้ซึ่งจะรับต� ำแหน่งจัดการทั้งปวงนั้นเต็มความอุตสาหะ วางเป็น แบบแผนลงไว้ได้แล้ว การทั้งปวงจึ่งจะเป็นไปได้สะดวกตามความประสงค์...” ๑ ทั้งนี้ความประสงค์ของ พระองค์นั้นก็อยู่ที่การปฏิรูปการปกครองเป็นส� ำคัญ “...ข้อความซึ่งได้กล่าวมาทั้งปวง เป็นใจความหัวข้อ ความประสงค์ของข้าพเจ้าซึ่งจะให้ท่านทั้งปวงทราบว่า ประสงค์ซึ่งจะจัดการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ด้วย เหตุผลประการใด และประสงค์จะวางรูปใหม่เปลี่ยนรูปเก่านั้นอย่างไร...” ๒ โดยพระราชด� ำรัสที่ว่า “จะ แก้ไขธรรมเนียมการปกครองให้สมกับเวลา” และ “ประสงค์จะวางรูปใหม่เปลี่ยนรูปเก่า” นั้น ที่สุดได้น� ำ ไปสู่การปฏิรูปการปกครองใน พ.ศ. ๒๔๓๕ อันนับเป็นการวางหลักการเกี่ยวกับการจัดรูปแบบ การปกครองของไทยซึ่งใช้มาจนปัจจุบันดังกล่าว โดยในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๕ นั้น พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตั้งกระทรวงอย่างเป็นทางการขึ้นจ� ำนวน ๑๒ กระทรวง ได้แก่ ๑. กระทรวงมหาดไทย ๒. กระทรวงกลาโหม ๓. กระทรวงการต่างประเทศ ๔. กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ๕. กระทรวงมุรธาธร ๖. กระทรวงนครบาล ๗. กระทรวงโยธาธิการ ๘. กระทรวงธรรมการ ๙. กระทรวงกระเษตรพานิชการ ๑๐. กระทรวงยุติธรรม ๑๑. กระทรวงวัง ๑๒. กรมยุทธนาธิการ (ฐานะเท่ากระทรวง) ๑ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. ๒๕๒๖. เจ้านายและข้าราชการกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ. ๑๐๓ และพระราชด� ำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดิน. (กรุงเทพฯ : บริษัท จันวาณิชย์ จ� ำกัด), หน้า ๖๕. ๒ เพิ่งอ้าง, หน้า ๑๐๗.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=