วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 การปกครองของสยามก่อนการปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. ๒๔๓๕ รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ ภาคีสมาชิก ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา การจัดรูปการปกครองของไทยในปัจจุบันนี้ นับได้ว่ามีรากฐานมาจากการปฏิรูปการปกครองของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เริ่มก่อตัวขึ้นอย่างชัดเจนใน พ.ศ. ๒๔๓๐ นับแต่การที่เจ้านาย และข้าราชการ น� ำโดยกรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์ พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ และ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ ได้กราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงราชการแผ่นดิน ร.ศ. ๑๐๓ ซึ่งส่งผล ให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวต้องทรงชี้แจงในปีเดียวกัน ให้เจ้านายและข้าราชการกลุ่ม ดังกล่าวมีความเข้าใจว่าพระองค์ไม่ทรงเห็นด้วยในประเด็นใด อย่างไร และความส� ำคัญเร่งด่วนที่จะต้อง กระท� ำเพื่อวางรากฐานและน� ำพาชาติบ้านเมืองให้ผ่านพ้นวิกฤตการณ์จากภัยการล่าอาณานิคมของชาติ ตะวันตกนั้นคืออะไร ซึ่งปรากฏในพระราชด� ำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแถลง พระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดินตอนหนึ่งว่า “...จึ่งเห็นว่าการปกครองในบ้านเมืองเรา ซึ่งเป็นไปในปัจจุบันนี้ ยังไม่เป็นวิธีการปกครองที่จะให้การทั้งปวงเป็นไปสะดวกได้แต่เดิมมาแล้ว บทคัดย่อ เนื่องจากการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ไทยนั้น มักจะสอนกันอย่างผิวเผินว่าใน สมัยก่อนการปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. ๒๔๓๕ นั้น ประเทศไทยปกครองกันแบบจตุสดมภ์ คือ มีอัครมหาเสนาบดี ๒ คน คือ สมุหพระกลาโหม กับ สมุหนายก และมีเสนาบดี ๔ คน คือ เวียง วัง คลัง นา ซึ่งขัดกับข้อเท็จจริงซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่มีเสนาบดีเพียง ๖ คนเท่านั้นท� ำหน้าที่ปกครองบริหารประเทศ ซึ่งมีความสลับซับซ้อนมาก โดยความจริงแล้วในเอกสารทางประวัติศาสตร์มีการอรรถาธิบายของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ว่าโดยแท้จริงแล้วยังมีต� ำแหน่งเทียบเท่าเสนาบดีอีก ๖ ต� ำแหน่งคือ มนตรี ๖ ในการบริหารปกครองบ้านเมือง ค� ำส� ำคัญ : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕, มนตรี ๖

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=