วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
63 รองศาสตราจารย์วนิดา ข� ำเขี ยว วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ วิถีทางในการเข้าถึงอัลลอฮ์ตามแนวทางของรูมีนี้อาจไม่เป็นที่พึงพอใจของมุสลิมบางกลุ่มที่ให้ ความส� ำคัญในเรื่องกฎเกณฑ์ทางศาสนาและความยุติธรรม เพราะรูมีให้ความสนใจมากในเรื่องความรัก และมุ่งเข้าถึงอัลลอฮ์โดยตรง โดยอาศัยประสบการณ์ทางจิต จึงท� ำให้วิธีการของท่านเข้าไปเกี่ยวเนื่องกับ รหัสธรรมิกนิยม รูมีเป็นผู้ที่เปิดกว้างทางความคิดและยอมรับทุกศาสนาโดยใช้ความรักเป็นตัวน� ำทาง ท่าน เชื่อว่าความรักไม่ว่าจะเป็นของคนชาติใดหรือศาสนาใดล้วนแล้วแต่มาจากบ่อก� ำเนิดเดียวกันคืออัลลอฮ์ มนุษย์ทุกคนควรรักกันเหมือนพี่น้องที่มีบิดาเดียวกัน แต่การที่มนุษย์ไม่สามารถให้ความรักแก่ใครบางคน ได้หรือเลือกที่รักมักที่ชังเพราะมนุษย์มักมีกิเลสและตัณหา อีกทั้งมีความยึดมั่นในตัวตนของตน ท� ำให้เกิด การแบ่งพรรคแบ่งพวก มนุษย์จึงมีทุกข์ รูมีได้คิดค้นหาทางพ้นทุกข์เพราะท่านเชื่อว่าความทุกข์ที่เกิดขึ้นใน มนุษย์นั้นเป็นผลมาจากการที่มนุษย์แยกตนเองออกจากอัลลอฮ์ ความปีติสุขจะเกิดขึ้นได้เมื่อมนุษย์กลับไป หาพระองค์ แต่ก่อนที่จะไปหาพระองค์มนุษย์ต้องเริ่มต้นจากการรู้จักตนเองก่อนด้วยการส� ำนึกว่าตนเป็น บ่าวของอัลลอฮ์ มนุษย์จึงไม่ควรท� ำตนเป็นทาสของวัตถุและต้องพยายามเอาชนะกิเลสต่าง ๆ รูมีได้เสนอ แนวทางปฏิบัติตนเพื่อเข้าสู่เส้นทางของอัลลอฮ์มีดังนี้ คือ ๑. กินน้อย ๒. นอนน้อย ๓. พูดน้อย ๔. ยับยั้งชั่งใจในการท� ำบาป ๕. สวดมนต์และถือศีลอด ๖. หนีห่างไกลจากความปรารถนาทั้งหลาย ๗. ต่อต้านการทรมานและความเจ็บปวดที่เกิดจากสังคม และจะต้องไม่ท� ำตนเป็นคนเหลวไหล ตลอดจนไม่ประพฤติตนเป็นคนลามก ๘. คบหาแต่คนดี ๑๐ เมื่อรู้จักตนเองแล้วจึงน� ำไปสู่การเข้าถึงจิตส� ำนึกของคนอื่น ๆ เพื่อจะได้รู้จักตัวตนของตน ซึ่งท่าน ได้เสนอค� ำแนะน� ำ ๗ ประการที่คนทุก ๆ วัฒนธรรมสามารถปฏิบัติได้มีดังนี้ คือ ๑. ในความเผื่อแผ่จงเป็นเหมือนน�้ ำ (น�้ ำมีแต่ให้และเป็นแหล่งอาหารของโลก) ๒. ในความเมตตากรุณาจงเป็นเหมือนพระอาทิตย์ (พระอาทิตย์ส่องแสงให้แก่สรรพชีวิต) ๓. ในการปกปิดความผิดพลาดของผู้อื่นจงเป็นเหมือนความมืดในราตรีกาล (การปกปิดความไม่ดี ของผู้อื่นต้องท� ำให้มืดสนิท จะได้ไม่เปิดช่องทางที่จะน� ำไปเปิดเผยท� ำให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลนั้น ๆ) ๑๐ Naci Bakirci. (2010). op. cit. p. 18.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=