วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
61 รองศาสตราจารย์วนิดา ข� ำเขี ยว วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ เชเคร์ (Şeker) นักวิจัยด้านซูฟีของออสเตรเลียได้กล่าวถึงรูมีว่าท่านได้ยินเสียงค้อนที่ตีบนแผ่น ทองเป็นจังหวะว่า อัลลอฮ์, อัล-ลอฮ์, อัล-ลอฮ์ รูมีเกิดปีติจนเป็นผลท� ำให้ท่านเต้นหมุนไปรอบ ๆ คล้ายกับ ลมหมุนวน ในขณะนั้นจิตของรูมีเต็มเปี่ยมด้วยความรักและท่านสามารถเข้าใจถึงการเคลื่อนไหวของ จักรวาล แขนของท่านทั้งสองข้างได้ยกขึ้น ตัวหมุนไปเหมือนกับการโคจรของจักรวาล รูมีรู้สึกปีติยินดีต่อสิ่ง ทั้งหลายทั้งปวงที่มีอยู่ เป็นอยู่ นับตั้งแต่อะตอมที่เล็กที่สุดจนถึงวัตถุที่ใหญ่ที่สุด ท่านเห็นถึงความสัมพันธ์กัน ของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ในขณะที่เต้นหมุนวนนั้น อารมณ์ของท่านเป็นสุขอย่างเต็มที่เหมือนกับว่าตัวท่านได้ ดูดเอาความรักที่มีอยู่ทั้งมวลเข้ามาไว้ในตัว ๗ จิตของท่านบังเกิดความสงบนิ่งและจิตที่สงบนิ่งนี้เราอาจกล่าว ได้ว่าเป็นสมาธิอย่างหนึ่งซึ่งเมื่อท� ำให้ความสงบนิ่งลึกลงไปมากเท่าใดเราจะสามารถจับความเคลื่อนไหว ของทุกสิ่งและเห็นความสัมพันธ์กันของกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ได้ด้วยปัญญา รูมีสามารถกระท� ำได้จนกระทั่ง เห็นความเคลื่อนไหวในความเงียบสงบและสามารถเห็นความเงียบสงบในขณะเคลื่อนไหว ประสบการณ์ ทางจิตวิญญาณที่รูมีได้ประจักษ์แจ้งเช่นนี้เป็นการเดินทางด้านจิตวิญญาณที่ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง จึงพบสัจธรรมของชีวิต ซึ่งท� ำให้จิตของท่านหมดความรู้สึกยึดถือและกิเลสตัณหาราคะมอดไหม้สลายไป จิตวิญญาณได้เข้าถึงความสงบเยือกเย็นและเกิดปีติสุข จากนั้นจึงเข้าสู่วิถีของอัลลอฮ์จนกระทั่งด� ำเนินไปสู่ ขั้นสูงสุดอันเป็นโลกแห่งรัศมี [ภาษาอาหรับเรียก นูร์ (Nur)] ซึ่งปราศจากกาลเวลาและสถานที่ อยู่ในสภาพ ที่เรียกว่าเป็นอภาวะ อย่างไรก็ตาม ผู้เดินตามแนวทางของรูมีเชื่อว่าแม้มนุษย์ได้สัมผัสกับความรักอันสูงส่งนี้ ก็ยังไม่อาจที่จะเห็นตัวตนของอัลลอฮ์เพราะพระองค์ทรงเป็นสิ่งที่ยากเกินความเข้าใจและทรงเป็น สิ่งที่ยากในการเข้าถึงตัวตนของพระองค์ สมาธิของมนุษย์ท� ำได้แค่เห็นการส� ำแดงออกของอัลลอฮ์ เท่านั้น นั่นคือความรักอันบริสุทธิ์ ระยะแรกของการค้นพบเซมานี้ รูมีใช้เสียงธรรมชาติมาเป็นเครื่องก� ำหนดจิตให้นิ่งสงบ ต่อมาได้ มีการปรับปรุงหลังจากที่ท่านสิ้นชีวิตโดยบุตรชายของท่านคือ สุลต่าน เวเลด พร้อมทั้งสหายสนิทและ สานุศิษย์ผู้ใกล้ชิดได้ร่วมกันก่อตั้งกลุ่มเมฟเลวีและสืบทอดเซมา โดยมีการน� ำเครื่องดนตรีเข้ามาใช้เป็น เครื่องก� ำหนดจิตเพื่อให้ง่ายต่อการร� ำลึกถึงอัลลอฮ์ โดยอ้างถึงค� ำสอนของรูมีที่ให้ความส� ำคัญแก่ดนตรีว่า เป็นอาหารของจิตวิญญาณและเป็นเครื่องช่วยให้มนุษย์สามารถเข้าถึงอัลลอฮ์ เซมาในสมัยหลังจึงมีการ พัฒนาโดยจัดสถานที่เป็นการเฉพาะที่เรียกว่า เซมาฮาเน (Semahane) และมีการก� ำหนดเครื่องแต่งกาย อีกทั้งยังมีการน� ำเครื่องดนตรีต่าง ๆ เข้ามาใช้ เครื่องดนตรีเหล่านี้ประกอบไปด้วยขลุ่ยอ้อ ปี่ ซอ กลองคู่เล็ก และแทมโบรีน (Tambourine) โดยใช้เป็นเครื่องท� ำเสียงประสานกันอย่างกลมกลืน พวกที่บรรเลงดนตรี จะต้องหันหน้าไปทางอาจารย์หรือเชค (sheikh) ผู้ท� ำหน้าที่ประธานในพิธีซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของรูมี ๗ Mehmet Şeker. (2006). Rumi’s Path of love & “Being Freed” with the Sama. In Rumi & His Sufi Path of love . p. 7.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=