วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
59 รองศาสตราจารย์วนิดา ข� ำเขี ยว วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ กูเล็นได้กล่าวถึงความหมายของเดอร์วิชว่า “ความจน” ๕ ผู้ที่จะเป็นเดอร์วิชต้องถือความจน มีความอดทน อดกลั้น มีความอ่อนน้อม ถ่อมตน ตลอดจนมีสติร� ำลึกอยู่เสมอว่ามนุษย์นั้นเป็นสิ่งสร้าง ที่มีคุณค่าของอัลลอฮ์ ชาวเดอร์วิชจึงเป็นผู้ที่ไม่ปรารถนาความรุนแรง แต่มีความรักให้แก่ทุกคน และต้องอุทิศตนในการรับใช้อัลลอฮ์ด้วยความเต็มใจ ตั้งใจ และบริสุทธิ์ใจ อีกทั้งมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้า ที่จะเข้าถึงพระองค์ บุคคลที่เป็นเดอร์วิชต้องเริ่มต้นด้วยการมีศรัทธาในศาสนา มีความรู้และความเข้าใจ ในพระคัมภีร์อัลกุรอาน และเป็นบุคคลที่มีความรักต่อทุกคนและทุกสิ่งไม่ว่าสิ่งนั้นจะมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม เพราะความรักเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ เดอร์วิชจึงเป็นบุคคลที่รักสันติภาพ มี วิสัยทัศน์ทางด้านจิตวิญญาณ เป็นบุคคลที่มีความฉลาดรอบรู้ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กันไป ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประสบการณ์ทั้งในทางโลกและทางจิตวิญญาณ เดอร์วิชมองชีวิตที่หรูหราฟุ้งเฟ้อว่าเป็นชีวิต ที่น่าละอายและเป็นภาระที่หนักอึ้งของหัวใจ ผู้ที่เป็นเดอร์วิชจะต้องตัดส่วนที่เกินจากความจ� ำเป็นของ ชีวิต โดยมีชีวิตเรียบง่ายและสมถะ เพราะชีวิตที่โอ่อ่าหรูหรานั้นไม่ต่างไปจากหนามแหลมที่ทิ่มต� ำฝ่าเท้า ย่อมท� ำให้ชีวิตนั้นเป็นทุกข์ จากประวัติชีวิตของรูมีนั้น เราจะเห็นได้ว่าท่านได้รับอิทธิพลทางความคิดและแนวการปฏิบัติ ตนจากศาสนาอิสลามในวิถีทางของซูฟีตามแบบวิธีการของเดอร์วิช เพราะพื้นฐานชีวิตในวัยเด็กเป็นต้น มาท่านได้รับการอบรมบ่มเพาะความคิดมาจากบิดาซึ่งเป็นผู้มีความรู้อย่างแตกฉานในแนวทางของซูฟี ประกอบกับการที่รูมีได้สมาคมกับซูฟีชั้นแนวหน้าของสังคมในสมัยนั้น จึงเป็นเหตุให้ท่านได้ศึกษาวิธีการ ของซูฟีอย่างแตกฉานและลุ่มลึก แต่กระนั้นท่านยังมีความคิดว่าความรู้เหล่านี้ไม่เพียงพอที่จะท� ำให้ท่าน เข้าถึงอัลลอฮ์ ท่านได้แสวงหาความรู้ต่อไปโดยจาริกไปยังสถานศึกษาต่าง ๆ ทางศาสนาที่มีชื่อเสียงใน สมัยนั้น ท่านได้มีโอกาสสนทนาธรรมกับผู้คนต่างวัฒนธรรมและต่างศาสนาท� ำให้เห็นความส� ำคัญในเรื่อง ความรัก ซึ่งท่านเชื่อว่าความรักนี้เป็นหนทางตรงไปสู่พระเจ้า เพราะความรักท� ำให้เกิดสันติภาพที่แท้จริง ถ้าทุกคนปราศจากความรักมีแต่ความเกลียดชังและใช้อารมณ์ร้ายต่อกัน ความรุนแรงย่อมเกิดขึ้น ดังนั้น การให้ความรักแก่ทุกคนอย่างเต็มที่จนเขารู้สึกและเข้าใจถึงความรักอันแท้จริงที่เรามีต่อเขาจะท� ำให้เกิด ความเข้าใจซึ่งกันและกันและบังเกิดความพยายามที่จะหาเวลาสนทนาอันจะน� ำไปสู่การช่วยเหลือกัน ในการแก้ปัญหา แต่ความรักจะไม่เกิดขึ้นเลยถ้ามนุษย์ยังคงหลงใหลในทางวัตถุมากกว่าเรื่องของจิตใจ ผู้ที่หนีออกจากโลกของวัตถุแล้วเข้าถึงโลกของจิตใจเท่านั้นย่อมมีประสบการณ์ในเรื่องทางโลกแตกต่างจาก ผู้อื่นและเขาย่อมสัมผัสได้กับความลี้ลับแห่งการสร้างสรรค์จักรวาล ตลอดจนเขาย่อมส� ำนึกได้ว่าทุกแห่งที่ เขามองไปทั่วล้วนเป็นการส� ำแดงออกของอัลลอฮ์ มนุษย์จึงอยู่ใกล้ชิดกับพระองค์ตลอดเวลา ดังนั้น มนุษย์ ๕ M.Fethullah Gülen. (2004). Key Concepts in the Practice of Sufism: Emerald Hills of the Heart. 2 . p. 263.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=