วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
เซมา (Sema) วิ ถี สู่ความจริ งสูงสุดของรูมี (Rumi) 56 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ๒ Adnan Karaismailoğlu. (2006). Mawlana Jalaladdin Muhammad Rumi. In Rumi & His Sufi Path of love . p. 10. ท่านอาลีนี้คือลูกพี่ลูกน้องและบุตรเขยของศาสดามุฮัมมัด รูมีจึงเป็นผู้ที่มีสายเลือดอิสลามอย่างเข้มข้น ท่าน อาศัยอยู่ที่เมืองบัลค์ได้ไม่นานก็ต้องอพยพพร้อมครอบครัวหนีภัยการรุกรานจากพวกมองโกล (Mongol) ขณะนั้นท่านอายุได้ประมาณ ๕ ขวบ การอพยพหนีภัยในครั้งนี้ท� ำให้ท่านและครอบครัวต้องร่อนเร่ไปตาม เมืองต่าง ๆ จนกระทั่งถึงเมืองคารามัน (Karaman) ในอาณาจักรอะนาโตเลีย (ปัจจุบันอยู่ในประเทศตุรกี) ครอบครัวของท่านจึงยุติการเดินทางและเริ่มสร้างหลักฐาน รูมีได้รับการศึกษาจากบิดาและผู้รู้ที่เป็นซูฟี ซึ่งมีชื่อเสียงหลายท่าน ท� ำให้รูมีมีความแตกฉานทางวิชาการตั้งแต่เรื่องประวัติศาสตร์จนถึงเรื่องการแพทย์ อีกทั้งท่านยังศึกษาศาสนาต่าง ๆ ควบคู่ไปกับศาสนาอิสลามและมีความสามารถทางภาษาหลายภาษา ได้แก่ ภาษาตุรกี ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ และภาษากรีก รูมีจึงได้รับเกียรติให้เป็นอาจารย์สอนใน สถาบันทางศาสนาของเมืองคอนยา (Konya) ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้และมีลูกศิษย์นับจ� ำนวนไม่น้อยส� ำหรับ สมัยนั้น ต่อมาท่านได้สมรสกับหญิงสาวชาวซะมาร์คานด์ (Samargand) ชื่อ เกฟแฮร์ ฮาตูน (Gevher Hatun) ผู้ให้ก� ำเนิดบุตรชาย ๒ คนชื่อ บาฮาอัดดิน มุฮัมมัด (Bahaaddin Muhammad) หรือเป็นที่รู้จักกัน ในนามสุลต่าน เวเลด (Sultan Veled) ผู้สืบสานแนวคิดของรูมีและด� ำเนินการจัดระบบชุมชนเมฟเลวี (Mevlevi) ซึ่งเป็นมุสลิมซูฟีที่เดินตามแนวคิดของรูมีในการเข้าถึงความจริง ชุมชนนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง คอนยา และบุตรชายอีกคนหนึ่งของรูมีชื่อ อลาอัดดิน มุฮัมมัด (Alaaddin Muhammad) ภายหลังภรรยา ของรูมีสิ้นชีวิต ท่านจึงสมรสใหม่กับสาวเมืองคอนยาชื่อ คีรา ฮาตูน (Kira Hatun) ผู้ให้ก� ำเนิดบุตรชาย ชื่อ มูซัฟฟารุดดิน อามีร์ อาลิม (Muzaffaruddin Amir Alim) และบุตรสาวอีกคนหนึ่งชื่อ มาลิกา ฮาตูน (Malika Hatun) ๒ นอกจากรูมีศึกษาเรียนรู้ทางปรัชญาและศาสนาตลอดจนวิชาการอื่น ๆ ในทางโลกจากบิดาของ ท่านแล้ว ท่านยังออกแสวงหาความรู้ทางศาสนาอิสลามตามเมืองต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น เช่น ดามัสกัส (Damascas) และอะเลปโป (Aleppo) [ปัจจุบันทั้ง ๒ เมืองนี้อยู่ในประเทศซีเรีย (Syria)] และไคเซรี [(Kayseri) ปัจจุบันอยู่ในประเทศตุรกี] การเรียนรู้จากแหล่งความรู้ที่มีชื่อเสียงมีส่วนท� ำให้ท่านมีความ แตกฉานในทางเทววิทยาและศาสนาตามแบบวิธีการของซูฟี ประกอบกับการที่ท่านได้ศึกษาแนวปฏิบัติ ของพวกเดอร์วิช (Dervish) ท� ำให้ท่านมีความรู้อย่างลุ่มลึกในศาสนาอิสลามทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ท่านได้น� ำความรู้เหล่านี้มาใช้ในชีวิตและได้แบ่งปันความรู้ที่มีอยู่ต่อบุคคลทั่วไปโดยไม่มีการเลือกชนชั้น วรรณะและวัฒนธรรม จนกระทั่งคนที่อยู่นอกศาสนาและชาวตะวันตกรู้จักท่านในฐานะที่เป็นมุสลิมใจบุญ ใจกุศลและมีความรักให้กับทุกคน มุสลิมซูฟีจึงยกย่องท่านว่าเป็นบุคคลผู้หนึ่งซึ่งสามารถเข้าถึงอัลลอฮ์ ท� ำให้ผู้คนในศาสนาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้นับถือศาสนาคริสต์ ยิว หรืออิสลามในสมัยนั้นต่างมีความปรารถนา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=