วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
45 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ กุลธิดาชั้นสูง เพื่ออุทิศแด่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ สมเด็จพระเชษฐภคินี ดังความในพระ ราชหัตถเลขาว่า “แม่เล็กเปนคนมีอัธยาไศรยน้อมไปในทางที่อยากให้ผู้หญิงมีที่เล่าเรียนเปนการแน่นอน มาเสียช้านานแล้ว แต่คิดจะตั้งโรงเรียนมาช้านานจนเกิดโรงเรียนสุนันทาไลย ขึ้น” ๓๙ (พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรียกสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถว่า “แม่เล็ก”) ๔๐ โรงเรียน แห่งนี้เป็นโรงเรียนประจ� ำส� ำหรับสตรีแห่งแรก มีหลักสูตรคล้ายคลึงกับโรงเรียนมิชชันนารี กล่าวคือ ให้การศึกษาวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และวิชาแม่บ้านการเรือน ตลอดจน การเข้าสมาคมตามแบบตะวันตก แต่ต่อมาโรงเรียนแห่งนี้ก็เลิกกิจการไปใน พ.ศ. ๒๔๔๐ สมเด็จ พระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้จัดตั้ง “โรงเรียนเสาวภาผ่องศรี” ขึ้น จากพระนามเดิมของพระองค์ ตรงบริเวณที่เป็นวังของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ โรงเรียนแห่งนี้ซึ่งเป็นโรงเรียนไป-กลับส� ำหรับเด็กหญิง ต่อมา พ.ศ. ๒๔๔๙ ทรงมีพระราชหัตเลขาถึงพระยา วิสุทธิสุริยศักดิ์ (ต่อมาคือ เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี เสนาบดีกระทรวงธรรมการ) โปรดเกล้าฯ ให้รวมโรงเรียนเสาวภาฯ กับโรงเรียนบ� ำรุงสตรีวิชา โรงเรียนสตรีของรัฐบาลแห่งแรก เปิดท� ำการสอนใน พ.ศ. ๒๔๔๔ แล้วพระราชทานชื่อว่า โรงเรียนเสาวภา ต่อมา พ.ศ. ๒๕๒๓ กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยน ชื่อเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภาจนถึงปัจจุบัน ใน พ.ศ. ๒๔๔๘ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงเรียนสตรีขึ้นอีกแห่ง หนึ่ง ที่ตรงบริเวณตึกมุมถนนอัษฎางค์กับถนนจักรเพชร ต� ำบลปากคลองตลาด แล้วพระราชทานนามว่า “โรงเรียนราชินี” แต่ในเวลาต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่ข้างวังหน้า ข้างวังพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ ตรงข้ามกับโรงพยาบาลทหารบก ที่ถนนพระอาทิตย์จนถึง พ.ศ. ๒๔๔๙ จึงย้ายมาอยู่ที่ตึกสุนันทาลัย ปากคลองตลาดหรือในสถานที่ตั้งปัจจุบัน ๔๑ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้ตั้งโรงเรียน และจ่ายเงินเดือนครูในโรงเรียนต่าง ๆ เช่น โรงเรียนราชินี โรงเรียนราชินีบน โรงเรียนทวีธาภิเศก โรงเรียนเสาวภา โรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาล (ปัจจุบันคือ คณะพยาบาลศาสตร์ ๓๙ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, เอกสารรัชกาลที่ ๕ ศ. ๕-๒๙ อ้างถึงในสุวดี เจริญพงศ์ “สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี” ใน สุวดี เจริญพงศ์ และปิยนาถ บุนนาค (บรรณาธิการ). สตรีแถวหน้าในประวัติศาสตร์เอเชีย. (กรุงเทพฯ : ส� ำนักพิมพ์บ้านพิทักษ์อักษร, ๒๕๕๐), หน้า ๔๖. ๔๐ ไกรฤกษ์ นานา, “ปิยมหาราชานุสรณ์ ประวัติศาสตร์ที่ไม่ถูกบันทึก”, ศิลปวัฒนธรรม ฉบับปีที่ ๒๙ ฉบับที่ ๖ เมษายน ๒๕๕๑ หน้า ๑๐๖-๑๒๕. ๔๑ โปรดดูรายละเอียดใน “ประวัติวิทยาลัยอาชีวศึกษาเสาวภา” (ออนไลน์). http://www.swbvc.ac.th/index.php?option= com_ content&view=article&id=46&Itemid=27 และ “ต� ำนานการศึกษาในสยาม” (ออนไลน์). http://allknowledges.tripod. com/historyofthaieducation.html สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=