วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize

สมเด็ จพระศรี พั ชริ นทราบรมราชิ นี นาถ : ผู้น� ำสตรี แห่งสยามสมั ยปฏิ รูป 44 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 เสวยยาวแบบราชส� ำนักยุโรปโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินี ร่วมเสวยด้วย ๓๔ ในบางโอกาสทรงปรับการประดิษฐ์ดอกไม้แบบไทยให้ผสมผสานกับแบบตะวันตก เพื่อให้เป็นที่ ประทับใจของแขกเมือง อาทิ จัดเป็นรูปพญานาคพาดบนโต๊ะเสวย การเสด็จเยี่ยมราษฎร สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ มักตามเสด็จพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชด� ำเนินประพาสหัวเมืองชนบทเพื่อเยี่ยมเยียนราษฎร ๓๕ ซึ่งบางคราว ต้องเสด็จพระราชด� ำเนินรอนแรมไปในถิ่นทุรกันดาร ต้องเสด็จผ่านป่าเขา บางคราวต้องทรงช้างทรงม้า หรือประทับเกวียน ซึ่งก็มิได้ทรงหวาดหวั่น ๓๖ ตามเส้นทางเสด็จพระราชด� ำเนิน มีประชาชนมาเฝ้ารับเสด็จ ก็พระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคให้ ที่แห่งใดถนนหนทาง สะพานหรือที่สาธารณะอื่นๆ ช� ำรุดทรุดโทรม ก็บริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ท� ำนุบ� ำรุงซ่อมสร้างให้ดีขึ้น ต� ำบลใดขาดน�้ ำบริโภคใช้สอย ก็โปรดเกล้าฯ ให้ขุดบ่อน�้ ำสาธารณะ และปีใดที่มีอากาศหนาวก็พระราชทานผ้าห่มกันหนาว รวมทั้งต� ำบลใดที่ขาดแคลน ยารักษาโรคก็จะโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ให้ข้าราชบริพารจัดซื้อยามาแจกจ่าย การศึกษา สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถทรงสนพระราชหฤทัยในการพัฒนาเยาวสตรี สยาม เพื่อให้มีส่วนในการร่วมสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศในยามที่ก� ำลังถูกคุกคามและท้าทาย จากการแผ่ขยายอิทธิพลของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกซึ่งแพร่แนวความคิดเรื่อง “ภาระของคนผิวขาว” ในการอ้างสิทธิสภาพที่จะยึดครองดินแดนต่าง ๆ ที่ “ไม่มีอารยธรรม” ในสายตาของตะวันตกเพื่อให้มีความ เป็นอารยะตามแบบตน ๓๗ พระองค์มีพระราชด� ำริว่า แนวทางที่ส� ำคัญส่วนหนึ่งในการด� ำเนินการดังกล่าวให้ บรรลุผลสัมฤทธิ์ คือ การจัดการศึกษาเล่าเรียนที่ดีตามมาตรฐานสากลในขณะนั้นให้แก่เยาวสตรีทั้งหลาย แต่เดิมนั้นมีโรงเรียนส� ำหรับเด็กหญิงเพียงแห่งเดียวคือโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยคณะ ผู้สอนศาสนาคริสต์จากสหรัฐอเมริกา ๓๘ ต่อมาใน พ.ศ.  ๒๔๒๓ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ซึ่งทรงตระหนักถึงความส� ำคัญของการให้เด็กหญิงไทยมีโอกาสทางการศึกษาตามแบบนานาอารยประเทศ จึงได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทรงจัดตั้ง “โรงสกูลสุนันทาลัย” ส� ำหรับ ๓๔ หจช. เอกสารรัชกาลที่ ๕ กต ๓๓.๖.๓/๕ เรื่องการต้อนรับปรินซ์เฮนรี่แห่งปรัสเซีย (พ.ศ. ๒๔๔๒). ๓๕ วิลาวัณย์สถิตย์วงศ์. ๗๒ ปี จอมสุรางค์อุปถัมภ์. (ม.ป.ท., ม.ป.ป.). ๓๖ เวสีนา เสนีวงศ์ฯ. เสาวภาผ่องศรี. (กรุงเทพฯ : บางกอกบุ๊ค, ๒๕๔๑). ๓๗ ปิยนาถ บุนนาค. ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (ตั้งแต่การท� ำสนธิสัญญาบาวริงถึง “เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม” พ.ศ. ๒๕๑๖), พิมพ์ครั้งที่ ๓. (กรุงเทพฯ : คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๙), หน้า ๓๗. ๓๘ ประวัติความเป็นมาโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (ออนไลน์), http://www.wattana.ac.th/history/ สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=