วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
41 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ น่าสังเกตว่า พระราชหัตถเลขาในโอกาสเสด็จประพาสยุโรปบางฉบับสะท้อนให้เห็นว่า ทรงสนทนา กับพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีฯ เกี่ยวกับการเมืองระหว่างประเทศมาก่อนหน้านี้แล้ว ดังความตอนหนึ่งว่า ...หารือกันระงับการซึ่งพวกฝรั่งเศสซึ่งอยู่ฝ่ายตวันออกแกล้งกล่าวว่าเรา ไม่อยากเปนไมตรีกับฝรั่งเศส จะขอให้มีเวลาปฤกษาหารือกัน ฉันก็รับเขาว่าขอ ให้เข้าใจว่าเมืองฝรั่งเศสไม่เหมือนเมืองอื่นต้องปกครองตามใจคนจึงเปนการยาก แต่รอดตัวที่เขาเปนคนมีคนชอบมาก ฉันก็ว่าฉันดีใจที่ได้มาเปิดความจริงซึ่งมีอยู่ใน อกให้เห็นว่าเราอยากเปนไมตรีกับฝรั่งเศสเพียงใด ข้อความอันนี้ฉันก็ได้เปิดไว้กับ เอมเปอเรอรัสเซียเสร็จแล้ว เขาก็รับว่าเอมเปอเรอได้รับสั่งกับเขา ฉันว่าด้วยฝรั่งเศส มีใจรักแลเชื่อถือเอมเปอเรอ ๆ เปนพยานฉันในข้อนี้ กับทั้งที่ฉันจะได้ส� ำแดงไมตรีต่อ มองซิเออร์โฟร์ ซึ่งเปนที่รักของชาวฝรั่งเศส คงจะเปนเหตุให้ความประสงค์ของฉัน ส� ำเร็จได้... ๒๗ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถเป็นผู้ส� ำเร็จราชการแผ่นดิน ดูแลบริหารราชการบ้านเมือง แทนพระองค์เป็นเวลานานถึง ๙ เดือน หรือ ๒๕๓ วัน (ระหว่างวันที่ ๗ เมษายน–๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๔๐) นับเป็นพระราชภารกิจที่หนักและ “ท้าทาย” มากส� ำหรับ “สตรี” ที่อยู่ในยุคของการเชื่อมต่อจากสมัยเก่า สู่สมัยใหม่ และในยามที่สยามประเทศเพิ่งผ่านการปฏิรูปการบริการราชการแผ่นดินครั้งใหญ่แบบ “พลิก แผ่นดิน” มาเพียง ๕ ปีเท่านั้น และภาวะที่สยามก� ำลังถูกคุกคามจากจักรวรรดินิยมอังกฤษและฝรั่งเศส โดยรอบด้าน แต่ก็ปรากฏว่าสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถก็ทรงสามารถปฏิบัติหน้าที่ผู้ส� ำเร็จ ราชการแผ่นดินได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ กลับมารับพระราชภารกิจของบ้านเมืองต่อมาได้อย่างต่อเนื่องสมบูรณ์ อนึ่ง ความสนพระราชหฤทัยในเรื่องราวระหว่างประเทศของสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรม ราชินีนาถยังคงมีสืบเนื่องต่อมาจนขึ้นปลายแห่งพระชนม์ชีพดังที่นายแพทย์สมิธ ชาวอังกฤษแพทย์หลวง ประจ� ำพระองค์ ท� ำหน้าที่ถวายการรักษาพระอาการของสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรม ราชชนนี เขียนไว้ในหนังสือ A Physician at the Court of Siam ว่า …พระนางตื่นบรรทมระหว่างหกโมงถึงสองทุ่ม เมื่อทรงเปลี่ยนฉลองพระองค์ เสร็จแล้วเจ้าพนักงานก็จะโทรศัพท์มาตามหมอสมิธที่บ้าน เพื่อให้มาตรวจพระอาการ ๒๗ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ อ้างถึงใน สุวดี เจริญพงศ์ และปิยนาถ บุนนาค (บรรณาธิการ). สตรีแถวหน้า ในประวัติศาสตร์เอเชีย . (กรุงเทพฯ : ส� ำนักพิมพ์บ้านพิทักษ์อักษร, ๒๕๕๐), หน้า ๔๘.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=