วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
สมเด็ จพระศรี พั ชริ นทราบรมราชิ นี นาถ : ผู้น� ำสตรี แห่งสยามสมั ยปฏิ รูป 36 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 ที่อย่างน้อยที่สุด ๘ ขวบขึ้นไปหา ๑๐ ขวบ ฉันจึงมีใจปรารถนาอยากจะให้ได้เล่าเรียน ตามสมควรแก่เวลาแลชนมายุของเธอทั้งหลายนั่นเสีย เพราะเวลานี้ก็ต่างองค์ต่างได้ เล่าเรียนอยู่บ้างแล้วตามอย่างเด็ก ๆ ที่อยู่ว่าง ๆ ดีกว่าจะให้เล่นซนอย่างเด็กอยู่เปล่า ๆ พอเปนทางด� ำเนินแห่งความรู้ในชั้นต้นเปนเค้าไว้บ้าง ก็อ่านแลเขียนกันได้ตามภาษาเด็ก ๆ ซึ่งได้เริ่มเรียนแต่ต่างครูบาอาจารย์กันแลเปนผู้หญิงสอนกันเองไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย อันใด มีครูผู้ชายสอนก็แต่ลูกติ๋ว **** คนเดียว เพราะฉะนั้นฉันจึงอยากจะให้เธอเป็น ผู้ด� ำริห์ แลจัดการเล่าเรียนของเจ้านายเหล่านี้ให้ได้รับความรู้ตามสมควรแก่เวลาแลชนมายุ ของเธอทั้งหลายนั้นให้ตลอดไปจนกว่าจะเจริญขึ้นอย่างแต่ก่อน แลถ้าเธอได้เปนธุระจัดการ เล่าเรียนของเจ้านายเหล่านี้แล้ว หวังใจว่าคงจะได้รับความรู้เจริญดีเปนล� ำดับดังปรารถนา ดังที่ได้เหนมาแล้ว... ๒๐ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถเป็นพระมารดาของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระปรีชา สามารถและพระอัจฉริยภาพ ประกอบพระราชกรณียกิจเป็นคุณประโยชน์นานัปการแก่แผ่นดิน สืบเนื่องกัน ถึง ๒ รัชกาล คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๘) ผู้ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” และ พระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๗) ผู้ทรงได้รับ พระราชสมัญญาว่า “พระบิดาแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย” ๒๑ ทั้ง ๒ พระองค์ทรงได้รับการยกย่อง จากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization−UNESCO) ให้เป็นบุคคลส� ำคัญของโลก ประจ� ำปี ๒๕๒๖ และปี ๒๕๕๖ ตามล� ำดับ นอกจากนี้ พระราชโอรสอีก ๓ พระองค์ต่างได้ทรงประกอบพระกรณียกิจเป็นคุณประโยชน์ แก่ประเทศชาติและประชาชนเช่นเดียวกัน คือ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (มีพระชนม์ชีพระหว่าง พ.ศ. ๒๔๒๕-๒๔๖๓) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (มีพระชนม์ชีพระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๒-๒๔๖๗) และ **** สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชราดิลก กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย. ๒๐ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๔-๓๖. ๒๑ โปรดดูรายละเอียดพระราชกรณียกิจของทั้ง ๒ พระองค์ใน ปิยนาถ บุนนาคและคณะ, ๙ แผ่นดินของการปฏิรูประบบราชการ , (กรุงเทพฯ : ส� ำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๖), หน้า ๑๔๓-๑๙๔.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=