วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
31 ศาสตราจารย์กิ ตติ คุณ ดร.ปิยนาถ บุนนาค วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๕๘ หลายชิ้นว่า ในบรรดาพระมเหสีหลายพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีทรงกระตือรือร้นใฝ่หา ความรู้ แม้ขณะที่ทรงพระเยาว์มิได้ทรงมีโอกาสศึกษาทางด้านอักขรวิธีมากนัก ยามใดเมื่อได้ทรงรับใช้ใกล้ชิด เบื้องพระยุคลบาท ก็ทรงตั้งพระทัยสดับตรับฟังกระแสรับสั่งในพระราชกิจจานุกิจอันเกี่ยวกับการบ้าน การเมืองรวมทั้งการต่างประเทศ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับหนังสือราชการ หรือหนังสือต่างประเทศ หากเป็นเรื่องที่ทรงเห็นแปลกก็มีพระราชด� ำรัสให้พระภรรยาเจ้าที่ประทับอยู่ด้วย ในขณะนั้นทอดพระเนตร สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีจะสนพระทัยและทรงจับประเด็นกราบบังคม ทูลโต้ตอบได้เป็นที่สบพระราชอัธยาศัย ๑๑ ไม่ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประพาสที่ใดในราชอาณาจักร สมเด็จ พระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถก็ได้ตามเสด็จพระราชด� ำเนินโดยขบวนฝ่ายในทุกครั้ง แม้ภายนอกราช อาณาจักรที่อยู่ในทวีปเอเชียก็โดยเสด็จหลายคราว เช่น ชวา มลายู สิงคโปร์ ประกอบกับพระราชอัธยาศัย ใฝ่รู้ช่างซักช่างถาม รวมทั้งพระราชจริยวัตรที่เอาพระทัยใส่ในพระราชสวามีเสมอมา ท� ำให้เป็นที่โปรดปราน ทั้งในเชิงภูมิปัญญาความรู้ที่ต้องพระราชอัธยาศัย และพระราชจริยวัตรที่ช่างปรนนิบัติตามพระปรีชา สามารถด้านการเป็น “แม่บ้านแม่เรือน” ของพระองค์ทรงหยิบของถวายได้ตามพระราชประสงค์โดยเกือบ มิต้องมีพระราชด� ำรัสสั่งจึงท� ำให้ทรงเป็นที่สนิทเสน่หาของพระราชสวามี พร้อมกับไว้วางพระราชหฤทัย ที่จะทรงปรึกษาหารือข้อราชการบางประการโดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับพระราชส� ำนัก สมเด็จพระศรี พัชรินทรา บรมราชินีนาถจึงเป็นที่ “ชอบพระราชอัธยาศัยไว้วางพระราชหฤทัยและทรงพระเมตตากรุณา อย่างยิ่งที่สุด หาที่เปรียบเทียบมิได้” ๑๒ นอกจากนี้ ในยามที่พระราชสวามีทรงพระประชวร พระองค์ก็ทรงสามารถคะเนพระอาการ ได้ถูกต้อง และถวายการพยาบาลให้จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย แม้ในการประชวรครั้งสุดท้ายเมื่อทรงเห็น พระอาการแม้ในระยะเริ่มแรกสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถก็ทรงทราบทันทีว่าพระอาการหนัก ก่อนที่หมอจะทราบภายหลังว่าพระวักกะไม่ท� ำงานและพระบังคนเบาเป็นพิษ ๑๓ ๑๑ สุวดี เจริญพงศ์ “สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี” ใน สุวดี เจริญพงศ์ และปิยนาถ บุนนาค (บรรณาธิการ). สตรีแถวหน้า ในประวัติศาสตร์เอเชีย. (กรุงเทพฯ : ส� ำนักพิมพ์บ้านพิทักษ์อักษร, ๒๕๕๐), หน้า ๔๒. ๑๒ ดังสะท้อนให้เห็นจากพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชทานแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ในเวลาที่ทรงส� ำเร็จราชการแผ่นดินต่างพระองค์ ฯลฯ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทานเป็นที่ระลึกในงานพระบรมศพ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ ต่อมา กรมศิลปากรให้พิมพ์แจกในงานศพอีกเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ โดยแบ่ง พิมพ์เป็น ๒ ภาค ใน หม่อมเจ้าสิบพันพารเสนอ โสณกุล, “พระราชประวัติ”. ใน คณะกรรมการจัดพิมพ์หนังสือฉลองพระบรมครบร้อยปี สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ. เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ ๖ และ รัชกาลที่ ๗. พิมพ์ครั้งที่ ๒. (กรุงเทพฯ : มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระบรมราชูปถัมภ์, ๒๕๕๗), หน้า ๓๓. ๑๓ เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๐.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=