วารสารปี-40-ฉบับที่-3-resize
สมเด็ จพระศรี พั ชริ นทราบรมราชิ นี นาถ : ผู้น� ำสตรี แห่งสยามสมั ยปฏิ รูป 30 The Journal of the Royal Society of Thailand Vol. 40 No. 3 Jul-Sep 2015 หัตถเลขาเกี่ยวกับการศึกษาภาษาอังกฤษของสมเด็จพระนางเจ้าว่า “…จะให้แม่เล็ก* เรียน [ภาษาอังกฤษ] พอให้รู้อะไรพองู ๆ ปลา ๆ เพราะรับฝรั่งมังค่าบ่อยก็จะได้พอเข้าใจค� ำพูดบ้าง หาไม่แกคับใจนัก ไม่ค่อย ยอมออกเลย...” ๙ จากประสบการณ์ของพระองค์เองดังกล่าวมาแล้ว สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีจึงทรงมี เจตนารมณ์แรงกล้าที่จะให้กุลธิดาสยามโดยเฉพาะจากครอบครัวชั้นสูงและชั้นกลางได้รับการศึกษาอบรม เพื่อให้มีความพร้อมส� ำหรับบทบาทตามความคาดหวังใหม่ พระผู้น� ำสตรีแห่งสยาม สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถทรงมีบทบาทตามฐานะของสตรี ซึ่งเป็นที่คาดหวังของ สังคมสมัยปฏิรูป ดังสตรีทั่วไปคือ “เมียในฐานะเพื่อนคู่คิด” “แม่ในฐานะครูคนแรก” “เมียและแม่ในฐานะ ผู้รอบรู้” แต่สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถทรงมีบทบาทที่เป็นพระราชภารกิจอันหนักยิ่งกว่าสตรี สยามทั่วไป ด้วยทรงอยู่ในฐานะพระอัครมเหสีแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระประมุข ของประเทศ และในสภาวการณ์ที่สยามก� ำลังปฏิรูปประเทศเพื่อความอยู่รอดของประเทศจากการคุกคาม ของจักรวรรดินิยมตะวันตก ประกอบกับพระราชอัธยาศัย พระราชจริยวัตร พระอัจฉริยภาพ และพระปรีชา สามารถของพระองค์เองด้วย ท� ำให้สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถทรงมีบทบาทส� ำคัญยิ่งในฐานะ พระผู้น� ำสตรีแห่งสยามในสมัยนั้น บทความนี้จะน� ำเสนอบทบาทของสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถในฐานะผู้น� ำสตรีแห่ง สยามตามบทบาทฐานะของสตรีซึ่งเป็นที่คาดหวังของสังคมสมัยปฏิรูปโดยเริ่มจาก “เมียในฐานะเพื่อนคู่คิด” “แม่ในฐานะครูคนแรก” และ “เมียและแม่ในฐานะแม่เรือนผู้รอบรู้” ตามล� ำดับ “เมียในฐานะเพื่อนคู่คิด” สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถทรงก้าวจากการเป็น พระภรรยาเจ้าขึ้นเป็นพระอัครมเหสีอันดับที่ ๑ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระ อัครมเหสีคู่พระทัยในลักษณะ “เพื่อนคู่คิด” เป็น “ผู้ร่วมทุกข์ร่วมสุข” ของพระราชสวามีอย่างแท้จริง ๑๐ ด้วยทรง “เห็น” ถึงพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถนานัปการ ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ปรากฏหลักฐาน * พระนามอย่างไม่เป็นทางการที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรียกสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ. ๙ ประชุมพระราชหัตถเลขารัชกาลที่ ๕ ที่ทรงบริหารราชการแผ่นดิน ภาคที่ ๔ , (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณคดี ส� ำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๑๒), หน้า ๔๑. ๑๐ หม่อมเจ้าสิบพันพารเสนอ โสณกุล, “พระราชประวัติ”. ใน คณะกรรมการจัดพิมพ์หนังสือฉลองพระบรมครบร้อยปี สมเด็จพระศรี พัชรินทรา บรมราชินีนาถ. เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีในรัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗. พิมพ์ครั้งที่ ๒. (กรุงเทพฯ : มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระบรมราชูปถัมภ์, ๒๕๕๗), หน้า ๓๐.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=